วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2551

Present Simple Tent มีวิธีการใช้ดังนี้

ทบทวนรูปประโยค : subject+ verb1
(เติม s เมื่อประธานเป็นเอกพจน์ ยกเว้น I, You)
เช่น :-
He gets up early.
I get up early.
The boy get up early.
การเติม S ที่มีกริยาเมื่อประธานเป็นเอกพจน์มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
(1) กริยาลงท้ายด้วย s, ss, sh, ch, o, และ x ให้เติมe เสียก่อนแล้วจึงเติม s เช่น :-
Pass - passes = ผ่าน
Brush - brushes = แปรงฟัน
Cath - cathes =จับ
Go - goes =ไป
Box - boxes =ชก
(2) กริยาที่ลงท้ายด้วย y และหน้า y เป็นพยัญชนะ ให้เปลี่ยน y เป็น ie แล้วจึงเติม s เช่น :-
Cry - cries =ร้องไห้
Carry - carries =ถือ,หิ้ว
Fly - flies =บิน
Try - tries =พยายาม
ข้อยกเว้น: ถ้าหน้า y เป็นสระไม่ต้องเปลี่ยน y เป็น ie ให้เติม sได้เลย เช่น :-
Play - plays =เล่น
Destroy - destroys =ทำลาย,สังหาร
เราใช้ Present Simple Tense เมื่อ
1) ใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำที่เป็นความจริงตลอดไป หรือเป็นความจริงตามธรรมชาติ (general truth หรือeternal truth เช่น):-
The sun rises in the east.
ด้วยอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก
The earth rotates on its axis.
โลกหมุนอยู่บนแกนของตัวเอง
It’s cold in winter.
มันหนาวในฤดูหนาว
Fish swim in the water.
ปลาว่ายอยู่ในน้ำ
Fire is hot. Ice is cold.
ไฟร้าน น้ำแข็งเย็น
(ตัวอย่างที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นความจริงตามธรรมชาติหรือตลอดไป)
2) ใช้กับเหตุการณ์ทีเป็นประเพณี, นิสัย ,สุภาษิต ซึ่งไม่ได้บ่งเฉพาะเจาะจงว่าเวลาใด เช่น :-
Actions speak louder than words.
ทำดีกว่าพูด
Men wear thin clothes in summer.
คนเราสวมเสื้อผ้าบาง ๆ ในฤดูร้อน
That man speaks English as well as he speaks his own language.
เจ้าคนนั่นพูดภาษาอังกฤษราวกับภาษาของตน
Women are dressed all in black when going to the funeral.
ผู้หญิงแต่งตัวด้วยชุดสีดำล้วนเมื่อไปในงานศพ
(เหตุการณ์หรือการกระทำดังกล่าวมานี้เป็นประเพณี, นิสัย ,สุภาษิต กริยาต้องใช้ Present Simple ตลอดไป)
3) ใช้กับเหตุการณ์ทีเป็นจริงในขณะพูด (ก่อนหน้าพูดหรือหลังจากพูดไปแล้วจะเป็นตามนั้นหรือไม่ก็ได้ ไม่มีผลผูกพัน แต่ที่แน่ ๆ ก็คือต้องเป็นจริงขณะที่พูดก็แล้วกัน) เช่น :-
He stands under the tree.
เขายืนอยู่ใต้ต้นไม่ (มองดูไปเห็นยืนอยู่จริง ยังไม่ไปไหน)
I have two books in the suitcase.
ฉันมีหนังสือ 2 เล่มอยู่ในกระเป๋า (เปิดออกมามีอยู่จริง)
Susan is my close friend.
ซูซานเป็นเพื่อนสนิทของฉัน(ขณะพูดก็เป็นมิตรกันอยู่)
(Verb ทั้งหมดต้องใช้ช่อง 1 เพราะเป็นความจริงขณะพูด)
4) ใช้กับเหตุการณ์ในอนาคต ซึ่งได้ตัดสินใจแน่นอนแล้วว่าจะปฏิบัติเช่นนั้นจริง(นิยมใช้กับกริยาที่แสดงการเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง) ตามกฎการใช้ข้อที่ 4 นี้จะมีคำวิเศษณ์บอกเวลาที่เป็นอนาคตมารวมกันด้วยก็ได้ เช่น :-
I leave by the 6.20 train this evening.
ผมจะออกเดินทางโดยขบวนรถไฟ 18.20 น. เย็นนี้
He sets sail tomorrow for Hua-Hin, and comes back next week.
เขาจะออกเรือไปหัวหินพรุ่งนี้ และก็จะกลับในสัปดาห์หน้า
We attack the enemies at dawn.
เราจะเข้าโจมตีข้าศึกเวลาเช้าตรู่
(เหตุการณ์ทั้ง 3 ประโยคจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งได้ตัดสินใจจะปฏิบัติตามนั้น จึงใช้ Verb เป็น Present Simple ได้)
5) ใช้กับเหตุการณ์ในประโยค Subordinate Clause (อนุประโยค) ที่บ่งบอกเวลาเป็นอนาคต ซึ่งประโยค Subordinate Clause ที่ว่านี้ จะขึ้นต้นประโยคของมันด้วยคำต่อไปนี้ คือ:-
If, when, whenever, unless, until, till, as soon as, while, before, after, as long as, etc. เช่น :-
If the weather is fine tomorrow, we shall have a pinic.
ถ้าพรุ่งนี้อากาศดี เราก็จะไปเที่ยวกัน
Unless he sends the money before Friday, I shall consult my lawyer.
ถ้าเข้าไม่ส่งเงินมาก่อนวันศุกร์ ผมก็จะไปปรึกษาทนายความของผม
Let’s wait until (till) he comes.
ขอให้เรารอจนกว่าเข้าจะมา
When you see Daeng tomorrow, remember me to him.
เมื่อคุณพบแดงวันพรุ่งนี้ ก็ฝากความคิดถึงจากผมไปหาเขาด้วย
(Verb ของประโยคที่ขึ้นต้นด้วย If , when ,unless, until ต้องใช้ Present Simple Tense เสมอ)
6) ใช้กับเหตุการณ์ในกรณีสรุปเรื่องที่เล่ามาทั้งหมด แม้เหตุการณ์นั้นจะได้เกิดขึ้นแล้วในอดีตแต่เราก็ใช้ Verb เป็น Present Simple Tense ทั้งนี้เพื่อให้เรื่องที่เล่านั้นมีชีวิตชีวา เหมือนแหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นในปัจจุบัน (ส่วนมากมักใช้ในการเขียนนิยาย, บทละคร) เช่น :-
Bassanio wants to go to Belmont to woo Portia. He asks Antonio to lend him money. Antonio says that he hasn’t any at the moment until his ships come to port.
บัสสานิโอต้องการจะไปแบลมองต์เพื่อเกี้ยวจาพาราสีกับนางปอร์เซีย เขาขอยืมเงินอันโตนิโอ อันโตนิโอบอกว่า ขณะนั้นเขาไม่มีเงิน เอาไว้จนกว่าเรือเข้าเทียบท่าแล้ว (เขาจึงจะมีเงินให้ยืม)
(ดูให้ดี Verb ในประโยคต่าง ๆ ใช้ Present Simple Tense ทั้ง ๆ ที่เรื่องนี้เกิดในอดีตโน้น ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดความสนุกเหมือนเหตุการณ์ได้เกิดในปัจจุบัน)
7) การกระทำของกริยาที่ไม่สามารถแสดงอาการให้เป็นได้ เช่น กริยาแสดงความนึกคิด (Verb of ideas) แสดงความรู้ (Verb of Perception) แสดงภาวะของจิต (Verb of Mind) แสดงความเป็นเจ้าของ (Verb or Possession) ให้นำมาแต่งใน Present Simple Tense (เพราะกริยาเหล่านี้ไม่ใช้ในรูป Continuous Tense)
เช่น :-
She loves het husband very much.
หล่อนรักสามีของหล่อนมาก ๆ
(Loves เป็นกริยาแสดงภาวะของจิต ไม่สามารถทำเป็น loving ได้)
He knows about how to open the can.
เข้ารู้วิธีที่จะเปิดกระป๋อง
(knows เป็นกริยาการแสดงความรับรู้ ไม่สามารถทำเป็น knowing ได้)
Advanced English Grammar belongs to me.
หนังสือ Advanced English Grammar เป็นของผม
(belogns to เป็นกริยาแสดงความเป็นเจ้าของ)
She detests people who are unkind to animals.
หล่อนเกลียดคนที่ไม่มีเมตตาต่อสัตว์
(detests เป็นกริยาแสดงความรู้สึกนึกคิด)
8) ใช้กับเหตุการณ์ที่บุคคลหรือสัตว์ทำเป็นปะจำ (Repeated Actions) หรือเป็นนิสัยเคยชิน(Habitual Actions and States) การใช้ในกรณี เช่นนี้ มักจะมีคำหรือกลุ่มคำหรือประโยค ซึ่งมีความหมายว่า บ่อย ๆ ,เสมอ ๆ , ทุก ๆ ... ร่วมอยู่ด้วย
คำที่แสดงความบ่อยที่นำมาใช้ตามกฎข้อที่ 8 นี้แยกออกเป็น 3 ชนิดย่อย ๆ คือ
คำ(Word) กลุ่มคำ (Phrase) ประโยค(Clause)
Always everday whenever he sees me
Often every week whenever he come here
Sometimes every month every time he sees me
Frequently every year every time he comes here
Usually once a week whenever she can
Naturally twice a month whenever she can
Generally in the morning when he coms here
Rarely on Sundays when wh does his work
Seldom (ทุกวันอาทิตย์)
Habitually on week days
(ทุกวันธรรมดา)
On holidays
(ทุกวันหยุด)
จำ: ประโยคแสดงความบ่อย ความเป็นประจำ รูปของกริยาประโยคนั้นต้องใช้ Present Simple Tense เช่น:-
He says hello to me whenever he sees me.
เขาพูดสวัสดีกับผมเมื่อเขาเห็นผม
(says ต้องเป็น Present Simple Tense เพราะมีประโยคแสดงความเป็นประจำ คือ whenever he sees me มากำกับบอกเวลาได้)
I wash my car every week-end.
ผมล้างรถของผมทุก ๆ วันหยุดสัปดาห์
She usually relaxes after game.
โดยปกติหล่อนจะพักผ่อนหลังเล่นกีฬาเป็นประจำ
David visits his home twice a year.
เดวิดจะไปเยี่ยมบ้านปีละ 2 ครั้ง
Somsri habitually gets up day.
สมศรีตื่นแต่เช้าตรู่เป็นประจำ

We go to school every day.
พวกเราไปโรงเรียนทุก ๆ วัน
(ประโยคที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ใช้ Verb เป็น Present Simple Tense เพราะมีคำบอกแสดงความบ่อย ความเป็นประจำมาร่วมด้วย)
Present Continuous Tense มีวิธีใช้ดังนี้
ทบทวนรูปประโยค : Subject+ is,am,are + Verb 1 เติม ing
เช่น :-
He is speaking.
I am reading.
They are writing.
A girl is dancing.
The boys are playing.
Subject + Verb 2Past Simple Tense มีวิธีการใช้ดังนี้
ทบทวนรูปประโยค :-
เช่น :- He spoke. They spoke.
I spoke. We spoke.
Jim spoke. A boy spoke.
The boy spoke.
จำ: กริยาที่ใช้ใน Tense นี้คือกริยาช่อง 2 รูปกริยาไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย ไม่ว่าประธานจะเป็นบุรุษหรือพจน์ใดก็ตาม
การเติม ed ที่คำกริยามีหลักเกณฑ์ดังนี้
(1) กริยาลงท้ายด้วย e อยู่แล้วให้เติม d ได้เลย เช่น :-
Love – loved = รัก
Move – moved = เคลื่อน
Realize – realized = รู้ ,รับรู้
Hope – hoped = หวัง
Raise – raised = ยกขึ้น
Free – freed = ปล่อยเป็นอิสระ
(2) กริยาที่ลงท้ายด้วย y และหน้าy เป็นพยัญชนะ ให้เปลี่ยน y เป็น I แล้วเติม ed เช่น :-
Cry – cried = ร้องไห้
Rely – relied = เชื่อถือ
Carry – carried = ถือ ,แบก
Try – tried = พยายาม
Marry – married = แต่งงาน
(3) กริยาที่ลงท้ายด้วย y แต่หน้า y เป็นสระให้เติม ed ได้เลย ไม่ต้องเปลี่ยน y เป็นอะไรทั้งสิ้น เช่น :-
Play – played = เล่น
Obey – obeyed = เชื่อฟัง
Delay – delayed = ชักช้า
Enjoy – enjoyed = ร่าเริง, สนุก
Stay – stayed = พัก, อาศัย
(4) กริยาที่มีเพียงพยางค์เดียว มีสระตัวเดียว และลงท้ายด้วยพยัญชนะที่เป็นตัวสะกดตัวเดียวให้เพิ่มพยัญชนะที่ลงท้ายนั้นเข้าไปอีก 1 ตัวเสียก่อน แล้วจึงเติม ed เช่น :-
Hop – hopped = กระโดด
Beg – begged = ขอร้อง
Plan – planned = วางแผน
Nod – nodded = พยักหน้า
Rub – rubbed = ถู, ขยี้
Stir – stirred = คน, ทำให้ทั่ว
Stop – stopped = หยุด
ยกเว้น : tax – taxed = เก็บภาษี
Tow – towed = ลากด้วยเชือก
(5) กริยามีเสียง 2 พยางค์ แต่ลงเสียงหนักพยางค์หลัง และพยางค์หลังนั้นมีสระตัวเดียว ลงท้ายด้วยตัวสะกดตัวเดียว ต้องเพิ่มพยัญชนะที่ลงท้ายนั้นเข้าไปอีก 1 ตัวเสียก่อน แล้วจึงเติม ed เช่น :-
Concur – concurred = ตกลง, เห็นด้วย
Occur – occurred = เกิดขึ้น
Refer – referred = อ้างถึง
Permit – permitted = อนุญาต
ยกเว้น : ถ้าออกเสียงหนักที่พยางค์แรก ไม่ต้องซ้อนพยัญชนะตัวสุดท้ายเข้ามา เช่น :-
Cover – covered = ปกคลุม
Open – opened = เปิด
Gather – gathered = รวม, จับกลุ่ม
(6) นอกจากกฎที่กล่าวมาตั้งแต่ 1 ถึง 5 แล้ว เมื่อต้องการให้เป็นช่อง 2 ให้เติม ed ได้เลยเช่น :-
Walk – walked = เดิน
Reach – reached = ถึง
Work – worked = ทำงาน
End – ended = จบ
กริยาที่เติม ed ลงไปแล้วนั้น จะอ่านออกเสียงได้ดังนี้
(1) กริยาที่ลงท้ายด้วย t หรือ d เมื่อเติม ed ลงไปให้ออกเสียงเป็น “อิด” หรือ “เอ็ด” เช่น :-
Want – wanted (ว้อนทิด) = ต้องการ
Start – started (สต้าดทิด) = เริ่ม
Need – needed (นีดเด็ด) = ต้องการ
Wait – waited (เวททิด) = รอคอย
End – ended (เอ็นดิด) = จบ
(2) กริยาที่ลงท้ายด้วย f, k, p, s, sh, ch, และ gh เติม ed ลงไปแล้วให้อ่านออกเสียงเป็น “ที” (t) เบา ๆ ในลำคอ เช่น :-
Drop - dropped (ดร็อพที) = หล่น, หยด
Look - looked (ลุ้คที) = มอง
Pass - passed (พาสที) = ผ่าน
Wash - washed (ว้อชที) = ซัก, ล้าง
Reach - reached (รีชที) = มาถึง
Laugh - laugh (ล้าฟที) = หัวเราะ
Cough - cough (ค้อฟที) = ไอ
(3) นอกจากที่กล่าวมาแล้ว (รวมทั้งตัว s ที่ออกเสียง z ) กริยาที่เติม ed ให้ออกเสียงเป็น d (คือ “ดึ” )เบา ๆ ในลำคอ เช่น :-
Love – loved (เลิฟดึ) = รัก
Rub - rubbed (รับดึ) = ถู
Beg - begged (เบ็คดึ) = ขอ
Die - died (ไดดึ) = ตาย
Play - played (เพลดึ) = เล่น
Refuse - refused (ริฟิสดึ) = ปฏิเสธ
Cover – covered (โคเวอร์ดึ) = ปกคลุม
Carry – carried (แครี่ดึ) = ถือ, แบก
Past Simple Tense มีวิธีการใช้ดังนี้
(1) ใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำที่ได้เกิดขึ้นแล้วในอดีต และก็จบลงแล้วในอดีตโน้นก่อนที่จะพูดประโยคนี้ออกมา ในกรณีเช่นนี้มักจะมีคำ กลุ่มคำ หรือประโยค (Clause) ที่แสดงความเป็นอดีตมากำกับไว้เสมอได้แก่
คำ (Word) กลุ่มคำ (Phrase) ประโยค (Clause)
Ago last night When he was young.
Once last week (month) When he was fifteen.
Yesterday last year After he had gone.
Formerly in 1980, just now Whenever he saw me.
Yesterday morning whenever I lived in Paris.
Yesterday afternoon
During the war
เช่น :- Somchai went to the cinema yesterday.
สมชายไปดูหนังเมื่อวานนี้
(การไปดูหนังเกิดขึ้นเมื่อวานนี้ และก็กลับมาแล้วเมื่อวานนี้เช่นกัน)
I lived in Songkla three years ago.
ผมอยู่สงขลาเมื่อ 3 ปีล่วงมาแล้ว(เดี๋ยวนี้ไม่ได้อยู่แล้ว)
He learned English when he was young.
เข้าเรียนภาษาอังกฤษเมื่อตอนเป็นเด็ก(ขณะนี้ไม่ได้เรียนแล้ว)
We saw the prime minister yesterday morning.
เราได้เห็นนายกรัฐมนตรีเมื่อเช้าวานนี้
His father died during the war.
บิดาของเขาตายในระหว่างสงคราม
The Pope visited Thailand last year.
พระสันตะปาปาได้เสร็จเยือนประเทศไทยปีที่ผ่านมา
(2) ใช้กับการกระทำซึ่งกระทำเป็นประจำในอดีต แต่ปัจจุบันมิได้กระทำการณ์นั้นอีกแล้ว ในกรณีนี้จะมี Adverb บอกความถี่ บ่อย ๆ มาร่วมด้วยก็ได้ แต่ต้องมีคำบอกเวลาที่เป็นอดีตแน่นอนมากำกับไว้ตลอดไป เช่น :-
She walked to school every day last week.
หล่อนเดินไปโรงเรียนทุกวันเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
(เดินทุกวัน แต่เป็นวันของอดีต ไม่ใช่ปัจจุบัน)
I always got up late last year.
ผมตื่นสายเสมอ ๆ เมื่อปีกลายนี้
(ตื่นสายเสมอ ๆ ของปีกลายนี้ ไม่ใช่ปีปัจจุบัน)
He went to school every day when he was young.
เขาไปโรงเรียนทุก ๆ วัน เมื่อตอนเป็นเด็ก
(ทุกวันเมื่อตอนเป็นเด็ก ไม่ใช่ทุกวันขณะพูด)
(3) ใช้กับการกระทำในอดีต แสดงลำดับความต่อเนื่องของเหตุการณ์ กรณีนี้ verb ทุกตัวต้องเป็น Past Simple Tense ตลอดไป เช่น:-
I opened my bag, took out some money and gave it to my friend.
ผมเปิดกระเป๋าเอาเงินออกมาและก็ให้เพื่อนไป
He jumped out of the house, saw a policeman and ran away.
เขากระโดดออกมาจากบ้านเห็นตำรวจก็วิ่งหนีไป
(การกระทำลักษณะต่อเนื่องเช่นนี้ Verb ทุกตัวต้องเป็น Past จำไว้)
(4) ใช้กับกริยาในประโยคที่อยู่หลังสำนวนต่อไปนี้ :-
- I would rather + Past Simple Tense
- It’s time + Past Simple Tense
- It’s high time + Past Simple Tense
- It’s about time + Past Simple Tense
เช่น :- I would rather you did your homework.
ผมอย่าให้คุณทำการบ้านของคุณ
It’s time the children went to bed.
ได้เวลาแล้วที่เด็ก ๆ จะต้องไปนอน
It’s high time we ended the meeting.
ได้เวลาที่เราจะจบการประชุมแล้ว
เปรียบเทียบการใช้ Present Perfect กับ Past simple Tense
Present Perfect Tense ใช้กล่าวถึงเหตุการณ์หรือการกระทำที่เกิดขึ้นในอดีตและยังดำเนินหรือมีผลต่อเนื่องมาถึงปัจจุบันคือ เวลาที่พูดประโยคนี้ออกไป ส่วน Past Simple Tense นั้น ใช้กล่าวถึงเหตุการณ์หรือการกระทำที่เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงไปแล้วในอดีตโน้น หาได้มีผลต่อเนื่องของเหตุการณ์มาถึงขณะพูดไม่ นอกจากนี้ Past Simple Tense ก็จะมีคำบอกเวลาที่เป็นอดีตมากำกับไว้อย่างชัดแจ้ง เช่น :-
- David has lived in Thailand for two year.
- David lived in Thailand two years ago.
ประโยคแรกหมายความว่า เดวิดได้อยู่เมืองไทยมาแล้ว 2 ปี และขณะนี้เขาก็ยังอยู่เมืองไทย (ยังไม่กลับบ้าน ยังอยู่ที่นี้)
ประโยคหลังหมายความว่า เดวิดมาอยู่เมืองไทยเมื่อ 2 ปี ที่แล้ว ขณะนี้เขาไม่ได้อยู่เมืองไทยแล้ว เขากลับบ้านเกิดของเขาไปแล้ว เข้าอยู่ที่นี้เมื่อสองปีก่อน
- I worked for two hours.
- I have worked for two hours.
ประโยคแรก : ผมได้ทำงานเป็นเวลา 2 ชั่วโมง แต่ขณะที่พูดผมไม่ได้ทำแล้ว (เพรำเสร็จหน้าที่ไปแล้ว)
ประโยคหลัง : ผมได้ทำงานมาแล้วเป็นเวลา 2 ชั่วโมง ขณะพูดก็ยังทำอยู่ งานยังไม่เสร็จ

1 ความคิดเห็น:

vanetiawachholz กล่าวว่า...

Casino (2021) - DrMCD
It's the casino 울산광역 출장안마 of choice for everyone. 통영 출장샵 From classic slots 평택 출장샵 to 제주 출장샵 more exciting casino games, you'll find here. Discover the casino's  Rating: 4 · ‎1 서울특별 출장안마 vote