วันพฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2551

Direct Mail Marketing (DMM)

บริการ Direct Mail Database Marketing (DDM) : บริการส่งเอกสาร พร้อม Database สำหรับการทำการตลาด ให้ตรงถึงกลุ่มเป้าหมายDirect Mail Marketing อีกทางเลือกหนึ่งของพลังขับเคลื่อนทางการตลาด
ประโยชน์ที่จะได้รับ : : เพิ่มและขยายฐานลูกค้า : สามารถทำโปรโมชั่นร่วมกับผู้บริโภคได้โดยตรง : แนะนำสินค้าและการบริการ : ประชาสัมพันธ์กิจกรรมส่งเสริมการตลาดได้เป็นอย่างดี : กระตุ้นการขายและรักษาฐานลูกค้า : เหมาะสำหรับเผยแพร่ข่าวสารของสินค้าและบริการ
Direct Mail Database Marketing (DDM) : ผู้ใช้บริการสามารถใช้ Database มากกว่า 300,000 กว่า รายชื่อบริษัทชั้นนำ และอีกกว่า 500,000 รายชื่อบุคคล ความพิเศษของฐานข้อมูลที่กล่าวคือนอกเหนือ จากจะเป็นฐานข้อมูลกลุ่มเป้าหมายที่มีกำลังซื้อในระดับ สูงแล้วยังเป็นผู้มีอำนาจในการตัดสินใจซื้อสินค้าและ บริการต่างๆให้แก่บริษัทหรือองค์กรโดยตรง ซึ่งแตกต่าง จากฐานข้อมูลจากแหล่งอื่น
รายละเอียดอัตราค่าบริการ Direct Mail Marketingการให้บริการ Direct Mail : จัดเอกสาร ใส่ซอง ผนึกซอง คัดแยกรหัสไปรษณีย์ : จัดส่งเอกสารอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ : คีย์ข้อมูลโดยเฉลี่ย (ชื่อ-นามสกุล, ที่อยู่, เบอร์โทรศัพท์) : พิมพ์ รายชื่อบน label จากเครื่องพิมพ์ อย่างรวดเร็ว

การตลาดทางอีเมล์ (e-mail marketing)

โดย รณพงศ์ คำนวณทิพย์ กรรมการผู้จัดการ ของ PPW ผู้นำในธุรกิจ มาร์เก็ตติ้ง เอเจนซี ทุก วันนี้การตลาดทางอีเมล์ หรือที่เรียกว่า e-mail marketing ได้กลายเป็นช่องทางสื่อสารการตลาดที่สำคัญไปแล้วในปีที่ผ่านมาบริษัทในอเมริกาใช้งบประมาณในเรื่องนี้สูงถึง 400 ล้านเหรียญสหรัฐเลยทีเดียว
การทำตลาดผ่านทางอีเมล์นั้น มีข้อดีหลายประการ เช่น รวดเร็ว ส่งปุ๊บปลายทางที่อาจอยู่อีกฟากหนึ่งของโลกก็ได้รับปั๊บ นอกจากนี้ ยังมีต้นทุนต่ำเพราะ ไม่ต้องติดแสตมป์เหมือนจดหมายแบบดั้งเดิม แถมยังสามารถส่งไปหาผู้รับจำนวนมากได้พร้อมๆกัน และติดตามได้ว่าอีเมล์ของเรานั้นส่งไปถึงปลายทางเรียบร้อย หรือไม่ และได้รับการเปิดอ่านหรือเปล่า
แต่ก็ใช่ว่าจะมีแต่ข้อดีนะครับ ด้วยความที่ต้นทุนต่ำจึงมี ผู้ทำการตลาดผ่านทางอีเมล์กันอย่างแพร่หลาย ทั้งที่ได้รับเชิญและไม่ได้รับเชิญอย่าง เช่นจดหมาย ขยะหรือ ‘สแปม’ (spam) ที่สร้างความเดือดร้อนรำคาญ และก่อให้เกิดความสับสนจนทำให้อีเมล์ที่ดีๆพลอยไม่ได้รับความสนใจไปด้วย นอกจากนี้ ‘สแปม’ เหล่านี้ยังอาจสร้างความเสียหายให้กับระบบเครือข่ายอีกด้วย
ด้วยเหตุนี้ประเทศไทยของเราจึงมีการประกาศใช้ พรบ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ออกมาเพื่อแก้ไขปัญหาอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ตที่ทวีความ รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.ru.ac.th/news/doc2550.pdf ครับ
สำหรับเทคนิคในการใช้อีเมล์อย่างปลอดภัยและได้ผลนั้นก็มีดังต่อไปนี้ครับ

2.หัวเรื่องของอีเมล์ (Subject) ควรจะมีความชัดเจน ให้ผู้รับคาดหวังได้ว่าจะได้รับข้อความเกี่ยวกับเรื่องอะไรจากจดหมาย อิเล็คทรอนิคส์ของเรา เช่น “Agenda for the Bangkok meeting” หรือ “กำหนดการประชุมที่กรุงเทพฯ” ไม่ควรส่งอีเมล์โดยไม่มีหัวเรื่อง เพราะจะทำให้อีเมล์นั้นอาจถูกมองข้ามไปได้ 3.หากต้องการทำให้ผู้ รับรู้สึกมีความสำคัญ ก็ควรส่งให้ผู้รับโดยตรง ไม่ควร cc (ที่ย่อมาจาก carbon copy) หรือการสำเนาอีเมล์นั้นให้ผู้รับจำนวนมาก เพราะผู้รับจะมองเห็นว่าอีเมล์นั้น ถูกส่งให้ผู้คนมากมายและอาจไม่เกี่ยวข้องกับตนเองโดยตรง อีกวิธีหนึ่งก็คือการทำสำเนาโดยทางอ้อม หรือ bcc (ที่ย่อมาจาก blind carbon copy) เพราะในกรณีนี้ผู้รับจะรู้สึกเหมือนว่าผู้ส่งส่งอีเมล์ให้ตนเองโดยตรง และไม่เห็นชื่อของผู้รับคนอื่นๆในรายชื่อของผู้รับคนอื่นๆอีกด้วย 4.หลีกเลี่ยงพฤติกรรมการส่งจดหมายขยะ (spamming) เช่นการส่งอีเมล์ไปเป็นจำนวนมากๆติดต่อกัน หรือส่งอีเมล์ไปยังผู้ใช้ที่ไม่มีตัวตนอยู่จริง (หรือชื่อ ผู้รับไม่ถูกต้อง) บนเซิรฟเวอร์เดียวกันหลายๆครั้งติดต่อกัน เพราะในกรณีเหล่านี้เราอาจถูกสงสัยว่าเป็นผู้ส่งจดหมายขยะทำให้อีเมล์ของ เราถูก block หรือถูกกันไม่ ให้ส่งผ่านไปได้
5.ใช้โปรแกรมป้องกันไวรัสและ spam ถึงแม้อาจจะกันไม่ได้ 100% แต่ก็ช่วยได้ในเบื้องต้นครับ
6.หลีกเลี่ยงการเขียนคำที่พบบ่อยๆในจดหมายขยะ อย่างเช่น “cheap drugs ” เพราะโปรแกรมป้องกัน spam ของผู้รับอาจตรวจพบและเข้าใจผิดว่าอีเมล์ ของเราเป็น spam ไปได้ครับ
7. ระวังการใช้ระบบตอบกลับอัตโนมัติ (auto-reply mail) เช่นในกรณีที่เราลาพักร้อนหลายๆวันไม่สามารถเปิดอ่านอีเมล์ได้ ในกรณีนี้ เท่ากับว่าเราเป็น การยืนยันให้ผู้ส่งจดหมายขยะ (spam) ทราบว่าเรามีตัวตนอยู่จริง และหากได้รับ spam มามากเราก็จะมีข้อความตอบกลับเป็นจำนวนมากตามไปด้วย ผลก็คืออีเมล์ ของเราก็อาจถูกเหมารวมว่าเป็น spam ไปได้ครับ
8. ระวังข้อมูลหลอกลวงทางอีเมล์ (e-mail fraud) ซึ่งมีอยู่หลากหลายรูปแบบ เช่น Phishing หรือการหลอกให้เรา login เพื่อหลอกเอา Passwordของเรา ซึ่งหากไม่แน่ใจว่าเป็นอีเมล์จริงหรือไม่ ก็ยังไม่ควรทำตามคำสั่งในอีเมล์ หรือตอบกลับไปยังอีเมล์นั้น แต่ควรตรวจสอบกับแหล่งที่มาของอีเมล์นั้นๆ ด้วยวิธีการอื่นๆ เช่นโทรศัพท์ หรือติดต่อโดยตรงเพื่อยืนยันความถูกต้องเสียก่อน
อย่างไรก็ดีควร ตระหนักว่าอีเมล์เป็นเพียงช่องทางหนึ่งของการสื่อสารเท่านั้น ในการทำe-mail marketing ให้ได้ผลสูงสุดนั้น จึงอาจใช้วิธีการอื่นๆ เช่นลง โฆษณา ส่งข่าวผ่านทาง Fax Tele-marketing Direct-mail SMS MMS หรือทำประชาสัมพันธ์รูปแบบอื่นๆเสริมเข้าไปด้วยขอให้โชคดี และประสบความสำเร็จกับ e-mail marketing ครับ

Hi5 ของเล่น กำลังเป็นที่นิยม

Hi5 คืออะไร หลายคนอาจจะยังสงสัย และคิดในใจว่าถ้าหากมันเป็นสถานที่สามารถพูดคุยกับคนอื่นได้ ทำไมถึงไม่เล่น พวกโปรแกรมแชทไปให้ซะรู้แล้วรู้รอดได้ผลทันใจดี จากที่ได้เข้าไปสัมผัส และไปแอบมี 1ชื่อ http://meomee.hi5.com/ อันเพื่อการเรียนรู้ ก็ชักจะชอบ ไม่ใช่เพราะอะไรหรอกค่ะ ก็ชอบไปสอดรู้สอดเห็นชาวบ้านเค้า ว่าเป็นใคร มีเพื่อนกี่คน ใน Hi5 ของเพื่อนมีอะไรบ้างแต่ส่วนมาก เท่าที่เห็นมา จุดเด่นของ Hi5 คือ เป็นที่ ๆ เราเอาภาพเด็ด ๆ ของเราไปลง แล้วมีคนอื่น ๆ มาวิ๊ดวิ๊ว กระตู้วู้ ( แค่นี้ก็เป็นสุขใจ) นอกจากภาพรูปถ่ายแล้ว เราก็ยังสามารถใส่คลิบวีดีโอ เพลง รวมทั้งมีกรุ๊ปกลุ่มเพื่อนที่เราสนใจ สามารถตกแต่ง Hi5 ของเราได้ตามใจฝัน มีบางคนบอกว่าเป็นที่ ๆ แสดงความเป็นตัวตนของเรา (ก็คงไม่แตกต่างไปจากบลอกอ่ะเน๊อะ) อย่างเต็มภาคภูมิ สามารถตกแต่ง Hi5 ได้ด้วย พวกรูปภาพ Skin วอร์เปเปอร์ ภาพเครื่อนไหว หรือ Glitter ให้ไปคอมมเมนต์ Hi5 ของเพื่อน ที่มีให้ใช้แบบ ทุบหัวแจกฟรีและที่น่าสนใจแตกต่างจากบล็อก หรือแม้กระทั่ง โปรแกรมแชทคือ เราสามารถค้นหาเพื่อน ของเพื่อน ของเพื่อน และของเพื่อน สามารถตรวจสอบคนที่เรากะลังสนใจอยู่ว่า มีพฤติกรรมกับสังคมทั่วไปเป็นอย่างไร ได้เป็นอย่างดีวันนี้ Meomee ก็เลยรวบรวมของแต่งคอมเมนต์มาแจกเพื่อน ๆ ค่ะ สำหรับใครอยากจะอินเทรนด์กับ Hi5 ก็ทดลองขับได้ เอ็ยใช้ได้วันนี้ค่ะ

E- Marketing การตลาดอิเล็กทรอนิกส์

คำว่า E- Marketing ย่อมาจาก Electronic Marketing หรือ " การตลาดอิเล็กทรอนิกส์ " หมายถึง การดำเนินกิจกรรมทางการตลาดใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เช่น คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือในการดำเนินกิจการทางการตลาดกับกลุ่มเป้าหมาย เป็นกิจกรรมที่เป็นการสื่อสารแบบ 2 ทาง และกิจกรรมที่นักการตลาดสามารถติดต่อกับผู้บริโภคได้ทั่วโลกและตลอดเวลา ( ที่มาจาก www.tradepointthailand.com)จากความหมายข้างต้น สามารถแยกย่อยออกมาได้เป็นข้อ ๆ ดังนี้
1.Electronic Tools E-Marketing
จะต้องเป็นการดำเนินกิจกรรมทางการตลาดโดยใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือในการทำการตลาด ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น
2.Niche Market
เป็นการดำเนินกิจการทางการตลาดกับกลุ่มเป้าหมาย และกลุ่มเป้าหมายที่ว่านั้นจะต้องเป็นกลุ่มเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง เช่น บริษัท กขค ทำธุรกิจขายเพลงป็อปของไทย ต้องการขยายตลาดโดยเจาะลูกค้าที่ชอบเพลงประเภทนี้และมีพฤติกรรมที่ชอบดาวน์โหลดเพลงบนเน็ต จึงจัดทำเว็บไซด์ที่เกี่ยวกับเพลงป็อป และให้ลูกค้าที่เป็นสมาชิกสามารถโหลดเพลงตัวอย่างไปฟังพร้อมข้อเสนอพิเศษต่างๆ เป็นต้น
3. 2- way Communication
เป็นกิจกรรมที่มีการสื่อสารแบบ 2 ทาง หมายถึง กิจกรรมมีการเสนอและตอบสนอง เช่น เมื่อมีการส่ง SMS หรือ ไป โหลดริงโทนจาก Wap Site โดยลูกค้า Server ของผู้ขายก็จะส่ง ริงโทนเข้าไปที่โทรศัพท์มือถือของลูกค้าที่ส่ง SMS ท่านนั้น หรือในกรณีของการดาวน์โหลดเพลงจากอินเตอร์เน็ตก็ถือว่าเป็นการสื่อสารแบบ 2 ทางเช่นกัน
4.Global Communication
ตามความหมายข้างต้นเราพอบอกได้ว่า กิจกรรมทางการตลาดอิเล็กทรอนิกส์จะต้องสามารถติดต่อกับลูกค้า หรือ กลุ่มเป้าหมายได้ทั่วโลก ซึ่งฟังดูแล้วอาจจะขัดกับลักษณะของ Niche Market ในข้อสองแต่จริง ๆแล้วคำว่าสื่อสารได้ทั่วโลกในที่นี้หมายถึง การสื่อสารถึงกลุ่มเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงได้ทั่วโลก เช่นลูกค้าบริษัท กขคในข้อ 1 อาจจะ อาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา จีน แต่ยังชอบฟังเพลงป็อปของไทยอยู่ เป็นต้น
5. 24 hrs/ 7 days การตลาดอิเล็กทรอนิกส์จะต้องสามารถที่ติดต่อกับผู้บริโภคได้ตลอด 24 ชม. ทุกวัน กล่าวคือ ทุกวันทุกเวลานั่นเอง
6.ไม่มีวันหยุด ( เว้นแต่เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์นั้นจะอยู่ในภาวะที่ใช้การไม่ได้ )
ในทุกวันนี้ หากเราพูดถึง E - Marketing เราก็จะมักนึกถึงอินเตอร์เน็ตก่อนเป็นอันดับแรก เพราะเป็นเครื่องมือที่เราเห็นได้ชัดว่าเข้าหลักทั้ง 5 ข้อมากที่สุด ซึ่งการทำการตลาดผ่านอินเตอร์เน็ตนั้น เราเรียกว่า "Online Marketing " และ Online Marketing ที่เราพบเห็นกันบ่อยๆได้แก่ • E-mail Marketing •Web banner หรือ Online Advertising อื่นๆ เช่น Text link Ads, Google Adsense •Search engine Marketing หรือ การทำการตลาดผ่านเสิร์ชเอ็นจิ้น •Viral marketing •Web blogs •Really Simple Syndication( RSS) •Discussion boards หรือ Webboard
แต่อย่างไรก็ดี ยังมีสื่ออื่นๆ ที่เราอาจจะไม่ได้นึกถึงเช่น Mobile (Phone ) Marketing , TV On Demand หรือ IPTV( ทีวีที่ดูผ่านบรอดแบนด์ ) เป็นต้น ซึ่งในอนาคต สิ่งเหล่านี้จะมีอิทฺธิพลอย่างมากต่อการตลาดอิเล็กทรอนิกส์

การทำให้เว็บไซต์ของคุณนำสมัย

เว็บไซต์ของคุณจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการของคุณได้ดีที่สุด แต่คุณจำเป็นต้องปรับปรุงข้อมูลอยู่เสมอเพื่อเรียกความสนใจจากลูกค้า
คุณคงจำได้ ย้อนกลับไปในช่วงปลายปี 1990 เมื่อมีการเผยแพร่เว็บไซต์ของบริษัทของคุณเป็นครั้งแรก คุณรู้สึกว่าช่วงเวลานั้นเป็นช่วงเวลาที่ดี และคุณรู้สึกภูมิใจที่สามารถปรับตัวเข้าสู่ยุคของอินเทอรเน็ตได้เป็นอย่างดี
บริษัทของคุณยังคงใช้เว็บไซต์ที่จัดทำขึ้นเมื่อแรกเริ่มอยู่หรือไม่
ลองดูคำถามต่อไปนี้ คุณเคยเปลี่ยนภาพกราฟิกหรือเนื้อหาในเว็บไซต์ของคุณมาแล้วกี่ครั้ง สองครั้ง หนึ่งครั้ง หรือไม่เคยเลย
ผู้เชี่ยวชาญหลายคนกล่าวว่า ธุรกิจหลายแห่งที่ดำเนินการอยู่ยังคงใช้เว็บไซต์ที่จัดทำเมื่อแรกเริ่มในช่วงที่มีการเปลี่ยนเข้าสู่ยุคสหัสวรรษ เว็บไซต์โดยส่วนใหญ่เหล่านี้จึงพลาดโอกาส "การใช้งานให้เกิดประโยชน์" ดังเช่นธุรกิจอื่นๆ ในปัจจุบันอย่างน่าเสียดาย
ธุรกิจที่มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตจะมีการปรับปรุงเนื้อหาในเว็บไซต์ของตนอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งมีการออกแบบเว็บไซต์ใหม่ทุกปี เหตุผลคือ พนักงานขายในบางบริษัทจะไม่สนับสนุนให้ลูกค้าที่คาดหวังเข้าไปยังเว็บไซต์ของบริษัทที่มีข้อมูลที่ไม่ทันสมัย หรือใช้งานได้ยาก Ilise Benun ผู้เขียนหนังสือ "Designing Web Sites for Every Audience" กล่าว
ผู้เยี่ยมชมจะมองหาข้อมูลเกี่ยวกับวันที่เพียงเล็กน้อย แล้วสรุปว่าพวกเขามาถึงทางตัน หรือจุดสิ้นสุดของเว็บไซต์แล้ว และเมื่อลูกค้ารายใหญ่ของคุณคลิกเข้ามาเพื่อเข้าร่วมการสัมมนา "ที่เร่งด่วน" ที่จะจัดขึ้น แต่พบว่าการสัมมนานั้นได้ผ่านพ้นไปแล้วในปี 2002 แต่คุณไม่มีเวลาที่จะลบข้อมูลดังกล่าวออกไป พวกเขาอาจรู้สึกรำคาญใจและคิดว่าเป็นเรื่องเหลวไหล ซึ่งอาจทำให้คุณตกอยู่ในสถานการณ์ที่ลำบากได้
ดังนั้นคุณจึงควรให้ความสนใจกับสัญญาณเตือนดังกล่าว คุณกำลังอยู่ในศตวรรษที่ 21 เว็บไซต์ของคุณยังดูเหมือนเว็บไซต์ในปี 1999 อยู่หรือไม่
คำแนะนำเกี่ยวกับเว็บไซต์
เว็บไซต์ทางธุรกิจก็เหมือนกับการรวมสิ่งต่างๆ แต่การที่จะทำให้เว็บไซต์ของคุณนำสมัยกว่าผู้อื่น คุณจะต้องคิดว่าคุณควรเปลี่ยนแปลงเว็บไซต์ของคุณบ่อยเพียงใด บริษัทที่ให้บริการด้านคำปรึกษาอาจปรับปรุงเว็บไซต์ทุก 3 เดือนหรือทุกปี สำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซหรือบริษัทวิจัยอาจต้องมีการปรับปรุงเว็บไซต์ทุกชั่วโมง
ไม่ว่าความต้องการของคุณจะเป็นอย่างไร คุณสามารถหาซอฟต์แวร์ที่มีจำหน่ายโดยทั่วไป หรือจากผู้ให้บริการอื่นๆ เพื่อดำเนินการให้กับคุณได้ ตัวอย่างเช่น คุณสามารถใส่ "พื้นหลัง" ใหม่ให้กับเว็บไซต์เดิมของคุณโดยไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของเว็บไซต์
ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำ 11 ประการจากนักการตลาดและนักพัฒนาเว็บไซต์ในการปรับปรุงเว็บไซต์ของคุณให้ทันสมัยได้อย่างรวดเร็วโดยไม่เพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้กับคุณมากจนเกินไป
1. ลดจำนวนเพจของเว็บไซต์
คุณควรออกแบบเว็บไซต์ใหม่ในเพจที่สำคัญเพียง 10 - 15 เพจเท่านั้น Matt Greer ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทให้บริการออกแบบเว็บไซต์ในชื่อ Zeeo Interactive กล่าว คุณสามารถเก็บข้อมูลเพจที่เป็นที่นิยม หรือมีผู้เยี่ยมชมเป็นจำนวนมากให้อยู่ในรูปแบบ Adobe PDF หรือเอกสาร Microsoft Word ที่เหมาะสำหรับการดาวน์โหลด
2. ใช้เว็บไซต์เป็นเครื่องมือทางการตลาด
ถ้าคุณยังไม่เคยรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน เช่น ผู้เยี่ยมชมมายังเว็บไซต์ของคุณโดยคลิกจากเว็บไซต์และ Search Engine ใด หรือเพจใดที่มีผู้เยี่ยมชมมากที่สุด คุณควรเริ่มตั้งแต่ตอนนี้
ใช้ชุดซอฟต์แวร์ที่มีจำหน่ายทั่วไปหรือบริการของผู้ให้บริการเว็บไซต์ในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ "คำถามแรกคือ 'เมื่อผู้เยี่ยมชมเข้ามายังเว็บไซต์ของคุณ คุณต้องการให้คนเหล่านั้นทำอะไร' " Erin Duckhorn ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของ Crucial Technology ผู้ให้บริการเพิ่มหน่วยความจำแบบออนไลน์กล่าว เมื่อคุณได้คำตอบแล้ว คุณจะสามารถกำหนดเมตริกการตรวจสอบ และพัฒนาเนื้อหา การนาวิเกต และโครงสร้างที่สามารถสร้างความประทับใจให้กับผู้เยี่ยมชมได้อย่างรวดเร็ว
3. จัดโปรแกรมอีเมล
จัดทำข้อเสนอเพื่อชักจูงให้ผู้เยี่ยมชมลงทะเบียนหรือให้อีเมลแอดเดรสกับคุณ "ให้ข้อเสนอที่จะทำให้เป้าหมายรู้สึกว่าได้รับสิ่งที่มีค่าเพียงพอที่จะแลกเปลี่ยนกับข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ของรางวัลสำหรับลูกค้า หรือเอกสารทางการสำหรับลูกค้าที่ดำเนินธุรกิจ" Jeff Stanislow ประธานกรรมการของบริษัทโฆษณาแบบดิจิตอลในชื่อ MotorCity Interactive กล่าว เมื่อคุณได้รับแอดเดรสมาแล้ว ให้ส่งนิตยสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือเอกสารข่าวที่เป็นประโยชน์ (แต่ไม่ควรส่งมากจนเกินไป)
4. จัดของรางวัลออนไลน์สำหรับลูกค้า
ตอบแทนลูกค้าชั้นดีของคุณโดยการให้สิ่งจูงใจหรือส่วนลด "คุณอาจให้เนื้อที่บนเว็บไซต์กับลูกค้าโดยไม่ต้องใช้เทคโนโลยีพิเศษใดๆ" Wally Bock ที่ปรึกษาเว็บไซต์กล่าว หรือคุณอาจส่งข้อเสนอพิเศษทางอีเมล
5. เพิ่มความเร็วในการโหลด
ในช่วงเริ่มต้น ภาพกราฟิกที่มีสีสันและแอปเพล็ตออนไลน์อาจดึงดูดความสนใจของผู้เยี่ยมชมได้อย่างมาก แต่ในปัจจุบันอาจเป็นอุปสรรคสำหรับการเข้าถึงข้อมูลหรือผลิตภัณฑ์ คุณควรจดจำ 3 คำนี้ให้ขึ้นใจ: ประสิทธิภาพ ประสิทธิภาพ ประสิทธิภาพ
6. เปิดโอกาสให้ผู้เยี่ยมชมควบคุมการใช้ได้ด้วยตนเองมากขึ้น
ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา Fairmont Hotels & Resorts ได้ปรับปรุง fairmonthotels.com เพื่อขยายความสามารถในการจองห้องพักแบบออนไลน์ ปัจจุบัน แขกที่เข้ามาจองห้องพักแบบออนไลน์สามารถจองอาหารมื้อค่ำหรือบริการสปาได้ในเวลาเดียวกัน เว็บไซต์นี้ยังได้เพิ่มส่วนของ "Fairmont Planner" ซึ่งจะช่วยในการค้นหาห้องพักที่ตรงกับโปรไฟล์หรือความต้องการของลูกค้า และ "virtual concierge" ซึ่งให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการบริการ
"เราได้พบสิ่งที่ยืนยันถึงความสำเร็จของเราได้ นั่นคือการเติบโตของธุรกิจในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา" Mike Taylor พนักงานฝ่ายประชาสัมพันธ์กล่าว โดยอ้างถึงผลการสำรวจของ TravelCLICK's eTRAK ที่ศึกษาเว็บไซต์ในแวดวงอุตสาหกรรม 30 แห่ง ซึ่งพบว่ามียอดการจองของ Fairmont ที่สูงขึ้นถึง 165% ในปี 2002
7. ปรับปรุงให้ทันสมัย
เปลี่ยนแปลงสีสันของเว็บไซต์ คุณอาจใช้ "โทนสีแบบตะวันออกไกล เช่น สนิม ลูกพลัม มัสตาร์ด หรือสีเหลืองอมส้ม แล้วใส่ความแวววาว และลายทาง ซึ่งดูเหมือนเสื้อผ้าที่อยู่ในตู้ของคุณ" Dali Wiederhoft นักประชาสัมพันธ์กล่าว
8. ลงทุนในระบบการจัดการเนื้อหา (Content Management System)
หันมาใช้ CMS (Content Management System) แทน HTML ที่ล้าสมัย ซึ่งจะทำให้คุณสามารถปรับปรุงเนื้อหาในเว็บไซต์ของคุณโดยไม่ต้องอาศัยนักพัฒนา ถ้าคุณมีการปรับปรุงเนื้อหาบ่อยๆ การลงทุนนี้จะคืนทุนให้คุณได้อย่างรวดเร็ว
9. ทำให้เว็บไซต์ของคุณติดอันดับใน Search Engine
โฮมเพจเดิมของ BreastCancer.org ซึ่งเป็นองค์กรให้ข้อมูลที่ไม่หวังผลกำไรที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในรัฐเพนซิลวาเนียได้แสดงภาพโลโก้ขนาดใหญ่ขององค์กร ซึ่งเป็นภาพหญิงสาวชื่อ Polly การทำเช่นนี้ส่งผลให้ Search Engine ไม่สามารถค้นหาเว็บไซต์ได้ "เขาแก้ไขด้วยการย้ายโลโก้ Polly ที่มีขนาดเล็กลงไปยังมุมบนขวาของโฮมเพจ และใช้ข้อความและการเชื่อมโยงข้อความเพื่อนำผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับเว็บไซต์นี้ไปยังข้อมูลที่สำคัญที่พวกเขากำลังค้นหา" Ilise Benun กล่าว
10. ปรับปรุงเว็บไซต์ให้สอดคล้องกับองค์กร
ไม่ต้องสงสัยเลยว่าธุรกิจของคุณคงต้องมีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้งในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา เว็บไซต์ของคุณเป็นอย่างไรบ้างในปัจจุบัน ช่องทางหรือเพจอื่นๆ ของคุณเป็นอย่างไร "บริษัทหลายแห่งอาจปรับปรุงเว็บไซต์ของตนทีละส่วน" Kevin McLaughlin พนักงานของบริษัทประชาสัมพันธ์ในชื่อ Public/i กล่าว "เมื่อมีการเพิ่มหัวข้อใหม่เข้าไป ข้อความเดิมหรือการจัดวางตำแหน่งที่ต้องการสื่ออาจไม่ปรากฏในเว็บไซต์ทั้งหมดของบริษัท" คุณจะต้องแน่ใจว่าข้อความในเว็บไซต์ของคุณตรงกับแผนการตลาดออฟไลน์ของคุณ
11. เพิ่มข้อพิสูจน์หรือเรื่องราวความสำเร็จ
"มีเพียงไม่กี่เว็บไซต์ที่เพิ่มข้อมูลดังกล่าวลงในเว็บไซต์ของตน และไม่ต้องสงสัยเลยว่าการดำเนินการดังกล่าวจะช่วยเพิ่มเครดิตให้กับบริษัทของคุณในสายตาของลูกค้าได้" Philippa Gamse ที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์ของเว็บไซต์กล่าว คุณอาจให้ลูกค้าแสดงความเห็น หรือขออนุญาตเผยแพร่เรื่องราวและความพึงพอใจในการใช้บริการของลูกค้า
ความคิดต่างๆ เหล่านี้จะช่วยในการปรับปรุงการนำเสนอเว็บไซต์แบบออนไลน์ของคุณ คำแนะนำที่ดีที่สุดคือ คุณต้องมีความขยัน และใส่ใจกับเว็บไซต์ของคุณ เมื่อใดก็ตามที่คุณเปลี่ยนแปลงทิศทางของธุรกิจหรือมีการเติบโตทางธุรกิจที่สำคัญ แน่นอนว่าช่วงเวลาได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว การตลาดและการสื่อสารทั้งหมด ซึ่งก็คือ มัลติมีเดีย และช่องทางต่างๆ จะต้องมีความสอดคล้องในรูปแบบเดียวกัน ถึงเวลาแล้วที่คุณจะนำเว็บไซต์ของคุณก้าวเข้าสู่ศตวรรษใหม

การตลาดยุคใหม่ ใช้ CRM ช่วยสร้างแบรนด์

ผมได้อ่านบทความเกี่ยวกับการทำ Branding และ CRM ในหนังสือพิมพ์ต่างๆ มีหลายบทความที่น่าสนใจและอยากจะนำเอามาขยายต่อให้ท่านผู้อ่านได้รับรู้บ้าง
ในการทำการตลาดยุคใหม่นี้ เราจะเห็นได้ว่า นักวิชาการและนักการตลาดทั้งหลายต่างมุ่งให้ความสนใจในการสร้างแบรนด์ หรือตราสินค้ากันมากขึ้น หลังจากที่ท่านนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และรองนายกฯ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ต่างพยายามออกมาบอกให้ผู้ประกอบการทั้งหลายว่า หากต้องการความอยู่รอดในยุคนี้ ทุกคนต้องหันมาสร้างแบรนด์ หรือตราสินค้ากัน เพราะแบรนด์เท่านั้น ที่สามารถสร้างความจงรักภักดีและการขายได้ราคาดีขึ้น นักการตลาดใน พ.ศ. นี้จึงต่างมุ่งตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคเป็นหลัก (Customer Oriented) ทำให้นักการตลาดปรับเปลี่ยนความสำคัญจากงานโฆษณาสู่งานประชาสัมพันธ์ ควบคู่กับเครื่องมือการตลาดแนวใหม่คือ IMC และ CRM กันมากขึ้น เพื่อผลักดันสินค้าและแบรนด์มัดใจลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย บรรยากาศการตลาดดูจะคึกคักมาตั้งแต่ต้นปี 2546 เป็นต้นมา มีการเปิดตัวสินค้าใหม่ การกลับมาทำตลาดและสร้างแบรนด์อีกครั้งของสินค้าเดิม และมีการเพิ่มงบประมาณโฆษณาสินค้าหลายประเภท อาทิ ในกลุ่มเครื่องดื่มบำรุงกำลัง อุปกรณ์สื่อสาร รวมทั้งการออก Campaign ใหม่ๆของค่ายมือถืออย่าง DTAC ทำให้ AIS ต้องรีบออก Campaign มาป้องตลาดของตน เพราะ Campaign ของ Dprompt จะพูดได้ว่าได้ผลพอสมควร เรียกได้ว่า ในปีนี้ DTAC เล่นบทเชิงรุกมากกว่าการตั้งรับ สำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งเบียร์ วิสกี้ และตลาด RTD หรือเครื่องดื่มพร้อมดื่ม มีแนวโน้มของการแข่งขันสูงขึ้นจากการเปิดตัวสินค้าและสร้างกระแสสะสมไว้ตั้งแต่ปลายปี 2545 รวมถึงกระแสจากคลอสเตอร์กับเคเค หรือคลาสสิคเคที่เปิดตัวเพื่อสู้กับไฮเนเก้นในตลาดเบียร์ระดับบน ถึงแม้อาจถูกจะกระทบบ้าง เนื่องจากกฎหมายห้ามโฆษณาเบียร์ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก่อน 4 ทุ่มก็ตาม แต่ก็ยังโชคดีของบรรดานักการตลาดและบริษัทโฆษณาที่รัฐยังผ่อนผันให้โฆษณาเครื่องดื่มชูกำลังได้อยู่ ส่วนตลาดรถยนต์จะมีการแข่งขันระหว่างวีออสและซิตี้ ตลาดสินค้าเงินผ่อน และอื่นๆ อีกมากมายที่จะทำให้การตลาดปี 2546 นี้คึกคักยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเวลาไม่กี่เดือนที่เหลือ เพราะต่างคนต่างก็พยายามรักษาส่วนแบ่งตลาดของตนไว้ หรือไม่ก็พยายามทำตัวเลขให้เข้าเป้า งานพีอาร์เพิ่มบทบาทมากขึ้น วงการโฆษณาและการสื่อสารการตลาดมีแนวโน้มว่ากำลังจะถึงจุดสูงสุดและกำลังจะอยู่ในช่วงขาลง การประชาสัมพันธ์จะเริ่มเข้ามาแทนที่ควบคู่กับการผสมผสานเครื่องมือสื่อสาร แบบ IMC (Integrated Marketing Communication) มากขึ้น ในวงการเอเยนซีโฆษณา จะมีการเปลี่ยนจากแอดเวอร์ไทซิ่ง เอเยนซี (Advertising Agency) มาเป็นแบรนด์เอเยนซี (Brand Agency) มากขึ้น เนื่องจากโครงสร้างของบริษัทโฆษณาได้เปลี่ยนไป จากเมื่อก่อนเป็น Full Service Agency มาเป็นแค่ผู้เชี่ยวชาญในการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Planning) และสร้างแบรนด์ (Branding) เท่านั้น ทั้งนี้เพราะแผนกมีเดีย ได้ถูกย้ายออกไปตั้งบริษัทอิสระกันเป็นส่วนใหญ่ ส่งผลให้รายได้ของบริษัทโฆษณาลดลงอย่างมาก ฉะนั้นงานโฆษณาด้านการวางแผนเชิงกลยุทธ์ และการทำพีอาร์ ตลอดจนการทำ Event Marketing กลายเป็นหัวใจสำคัญของการตลาดยุคใหม่ไป ยิ่งการออกกฎห้ามโฆษณาเหล้าเบียร์ก่อนสี่ทุ่ม ทำให้เม็ดเงินโฆษณาผ่านทางสื่อแมสได้ตกลงไปมากพอสมควร ฉะนั้น นักการตลาดจึงหันมาให้กลยุทธ์ของ Event Marketing และ CRM กันมากขึ้น CRM แบบเอ็มเคสุกี้ เอ็มเคสุกี้ก็เป็นอีกกิจการหนึ่งที่ประสบความสำเร็จมาก จนอาจกล่าวได้ว่า เอ็มเคสุกี้ ก็คือ McDonalds ของไทย เอ็มเคสุกี้ประสบความสำเร็จส่วนหนึ่งมาจากการใช้กลยุทธ์ CRM (Customer Relationship Management) แบบดั้งเดิม ซึ่งผมขอเรียกว่าเป็นแบบ Manual CRM เพื่อสร้างให้ผู้บริโภคเกิดความประทับใจในแบรนด์ โดยเน้นการฝึกพนักงานให้บริการลูกค้าด้วยหัวใจและจิตวิญญาณ หรือที่ผมเรียกว่า SQ (Spiritual Quotient) ในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี กับลูกค้าด้วยบริการที่ดี ผสมผสานกับคุณภาพรสชาติอาหาร ซึ่งเป็นการประยุกต์การให้บริการในแบบคนจีน ใช้ระบบการทำงานและการจัดการแบบฝรั่งเข้ามาเป็นหัวใจในการบริหารแบรนด์ ในส่วนของสินค้าอุปโภคบริโภคนั้น บริษัท ยูนิลีเวอร์ไทย เทรดดิ้ง จำกัด ก็เคยกล่าวว่า นักการตลาดต้องเข้าใจในความรู้สึกของผู้บริโภคอย่างแท้จริง หรือที่ผมเรียกว่า Consumer Insight ซึ่งปัจจุบันผู้บริโภคมีการแบ่งแยกกลุ่มมากขึ้น ความต้องการของผู้บริโภคแต่ละกลุ่มไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว ทำให้การคิดกลยุทธ์ด้านการตลาดหรือโฆษณาตัวใหม่ให้กับสินค้าจำเป็นต้องเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคอย่างแท้จริง และมีการออกแบบงานวิจัยหลายแบบเพื่อให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้บริโภค สำหรับยูนิลีเวอร์ ได้ข่าวว่ามีการส่งพนักงานวิจัยทางด้านการตลาดหรือผู้จัดการผลิตภัณฑ์ลงไปสัมผัสกับกลุ่มผู้บริโภค และมีการลงพื้นที่โดยการอาศัยจากประสบการณ์จริงของกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งขณะนี้รูปแบบการวิจัยนิยมที่จะส่งผู้วิจัยไปอยู่กับโฮมสเตย์ (Home Stay) ในต่างจังหวัดโดยใช้ระยะเวลา 1-2 อาทิตย์ เพื่อสะท้อนความต้องการของผู้บริโภคทั้งต่างจังหวัดและในตัวเมือง เรียกได้ว่า เป็นวิธีการทำวิจัย และศึกษา Consumer Insight ที่แปลกใหม่อีกวิธีหนึ่ง และที่สำคัญกว่านั้น ทางยูนิลีเวอร์ไทย ยังได้คิดค้นวิธีการดังกล่าวด้วยการออก Passport ให้ Product Managers คนละเล่ม และมีการประทับตราวีซ่าให้แต่ละครั้งเมื่อ Product Manager ได้ไปอยู่ Home Stay แล้วกลับมาเล่าให้เพื่อนร่วมงานฟัง เป็นวิธีการส่งเสริมกึ่งโน้มน้าวให้ Product Manager ออกไปกันทุกคน ไม่ใช่มานั่งเทียนเขียน Marketing Plan หรือเดาพฤติกรรมของผู้บริโภคจากห้องสี่เหลี่ยมในกรุงเทพฯ ผมได้ยินมาว่า วิธีนี้ได้ผลมาก และทำให้ยูนิลีเวอร์อื่นๆ นำเอา Idea นี้ไปใช้ในต่างประเทศเลยทีเดียว
การแข่งขันกันที่เป็นสิ่งฉาบฉวยภายนอกไม่ใช่ทางออกที่ดีนัก หากองค์กรใดสามารถเข้าถึงจิตใจของผู้บริโภคได้เท่าไหร่ยิ่งจะได้เปรียบ ต้องใช้หลักการแข่งขันที่เรียกว่า Hi-tech/Hi touch หมายความว่าในตัวผลิตภัณฑ์จะต้องทันสมัยด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ ขณะที่ต้องทำความเข้าใจถึงความต้องการของผู้บริโภคอย่างลึกซึ้ง ทั้งสองสิ่งนี้ต้องดำเนินไปควบคู่กัน หลักการนี้นำไปสู่อุตสาหกรรมใหม่ที่เรียกว่า “Creative Industry” แนวโน้มของเศรษฐกิจในโลกอนาคตจะอยู่ที่ธุรกิจด้านความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีมูลค่ามากถึง 7% ของเศรษฐกิจโลก โดยความคิดสร้างสรรค์จะถูกใช้เป็นกุญแจสำคัญในแผนการตลาด โดยให้น้ำหนักกับเรื่องของอารมณ์ให้มากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่ประสบการณ์ที่ดีของผู้บริโภค ควบคู่ไปกับงานทางด้านเทคโนโลยี (Functional+Emotional) แปรจากสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม เพื่อสร้างคุณค่าใหม่ (Value) ให้กับผู้บริโภค ฉะนั้น ในทศวรรษแรกของศตวรรษใหม่นี้ ผมก็ยังเชื่อว่า แนวความคิดเรื่องการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) ยังคงเป็นกระแสที่มาแรง และบริษัทใดที่ละเลยเรื่องนี้ไป ก็มีสิทธิ์ที่จะถูกคู่แข่งทิ้งห่างไปได้เช่นกัน และการทำ CRM นั้น ไม่จำเป็นต้องลงทุน Software ราคาแพงอย่างที่บรรดา Solution Providers พยายามขาย แต่ผมว่าหัวใจของการทำ CRM อยู่ที่กระบวนการคิดการทำและการสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการให้บริการมากกว่า เทคโนโลยีและ Software เป็นเพียงสิ่งเสริมเท่านั้น

การกำหนดวัตถุประสงค์และกลยุทธ์ทางการตลาด

กำหนดวัตถุประสงค์การตลาดและกลยุทธ์ (Setting Market Objectives and Strategies) วัตถุประสงค์การตลาดและกลยุทธ์จัดว่าเป็นแกนสำคัญยิ่งของการทำแผนตลาด วัตถุประสงค์การตลาด (marketing objectives) เพื่อบอกว่า ในการบรรลุยอดขายที่ตั้งไว้นั้นต้องการอะไรบ้าง กลยุทธ์การตลาด (marketing strategies) จะอธิบายว่าเราจะบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้อย่างไร วัตถุประสงค์การตลาดเป็นข้อความที่จะบอกถึงความต้องการของหน่วยธุรกิจว่า ต้องการบรรลุถึงผลลัพธ์อะไรบ้าง วัตถุประสงค์ทางการตลาดที่ดีจะมีลักษณะดังนี้ มีความเฉพาะเจาะจง (Be specific) วัตถุประสงค์จะต้องมเป้าหมายที่เน้นเฉพาะ มิใช่กำหนดลักษณะกว้างๆ สามารถวัดได้ (Measurable) โดยวัดได้เป็นตัวเลขเชิงปริมาณได้ สัมพันธ์กับเงื่อนเวลา (Relate to a specific time period) แผนการตลาดมักมีการกำหนดเวลาที่ชัดเจน เช่น ภายใน 1 ปี หรือ 6 เดือนข้างหน้า เป็นต้น เน้นพฤติกรรมของตลาดเป้าหมาย (Focus on affecting target market behavior) เช่น ส่งเสริมให้มีการลองซื้อครั้งแรก หรือมีการซื้อซ้ำ หรือซื้อมากขึ้น เราจะพัฒนาวัตถุประสงค์การตลาดได้อย่างไร ขั้นที่ 1 ทบทวนยอดขาย (Review Sales Objectives) เนื่องจากวัตถุประสงค์ทางการตลาดจะมีผลต่อตลาดเป้าหมาย เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ด้านการขาย วัตถุประสงค์ทางการตลาดจึงต้องเป็นสิ่งที่วัดได้ และตัวเลขต่างๆ ที่กำหนดไว้ในเชิงปริมาณ ต้องมีขนาดใหญ่เพียงพอที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายด้านการขายได้ ขั้นที่ 2 ทบทวนตลาดเป้าหมาย (Review target market) ขนาดและศักยภาพของตลาดเป้าหมาย ตลอดจนฐานข้อมูลลูกค้าปัจจุบัน เป็นสิ่งที่ต้องสามารถคาดคะเนได้ ข้อมูลเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็น เพราะวัตถุประสงค์ทางการตลาดแต่แต่ละข้อล้วนมีผลกระทบต่อพฤติกรรมตลาดเป้าหมายทั้งสิ้น การทบทวนตลาดเป้าหมายจะทำเพื่อจะได้ทราบจำนวนลูกค้าที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว ขั้นที่ 3 ทบทวนปัญหาและโอกาสทางการตลาด (Review of Problems and Opportunities) การแก้ไขปัญหาและขานรับต่อโอกาสทางการตลาด เป็นฐานในการกำหนดวัตถุประสงค์ทางการตลาดอยู่แล้ว เช่น ถ้าพบว่าอัตราการลองใช้สินค้าใหม่จากกลุ่มลูกค้าปัจจุบันต่ำ แต่ตัวเลขดังกล่าวกลับสูงสำหรับกลุ่มลูกค้าใหม่ เราอาจกำหนดวัตถุประสงค์มุ่งไปยังลูกค้าใหม่ ขณะเดียวกันถ้าอัตราการซื้อซ้ำของกลุ่มเป้าหมายยังต่ำ เมื่อเทียบกับสินค้าคู่แข่งขันเราอาจกำหนดวัตถุประสงค์ทางการตลาดมุ่งไปที่ลูกค้ากลุ่มเดิมในปัจจุบัน ขั้นที่ 4 การกำหนดเกณฑ์หรือหลักการที่สอดคล้องกัน (Formulate a Rationale) เกณฑ์หรือหลักการที่กำหนดเพื่อจะได้ประเมินว่าวัตถุประสงค์ทางการตลาดที่ตั้งไว้นั้น สามารถบรรลุเป้าของการขายหรือไม่ มีความสอดคล้องและเป็นเหตุเป็นผลมากน้อยเพียงใด วัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งจะสอดคล้องหรือสนับสนุนวัตถุประสงค์ด้านอื่นๆ หรือเป้าหมายรวมหรือไม่ ตัวอย่างแสดงการพัฒนาวัตถุประสงค์ทางการตลาดและความสอดคล้องของสินค้าอุปโภคบริโภคชนิดหนึ่ง ดังนี้ ยอดขายรวม : ยอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับปีก่อน คือจาก 2,500 ล้านบาท เป็น 2,750 ล้านบาท ตลาดเป้าหมาย : สตรีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ขนาดตลาดที่มีศักยภาพ : 8.5 ล้านคน (ไม่รวมลูกค้าปัจจุบัน) เป้าหมายทางการตลาด : ผู้ลองใช้สินค้าครั้งแรกคิดเป็นร้อยละ 10 ผู้ลองใช้มีการซื้อซ้ำ : ร้อยละ 60 ผู้ใช้ใหม่ทั้งหมด : 8.5 ล้านคน x 10% = .85 ล้านคน ผู้ใช้ที่มีการซื้อซ้ำ : 60% x 8.5 ล้านคน = .51 ล้านคน จำนวนครั้งของการซื้อซ้ำ : โดยปรกติแล้วลูกค้าแต่ละคน จะซื้อสินค้านี้ 4 ครั้งต่อปี (แต่ในที่นี้จะ ใช้เกณฑ์คำนวณเพียง 2 ครั้ง เพราะลูกค้าใหม่ทุกคนมิได้ใช้สินค้าเรา ตลอดทั้งปี) ราคาสินค้าโดยเฉลี่ย : 133 บาทต่อชิ้น ยอดขายรวม : .85 ล้านคน X ใช้ 1 ครั้ง X 133 บาท = 113.05 ล้านบาท .51 ล้านคน X ใช้ 2 ครั้ง (ซื้อซ้ำ) X 133 บาท = 135.66 ล้านบาท ยอดขายรวม = 248.71 ล้านบาท ยอดขายดังกล่าวเป็นยอดขายส่วนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ของยอดขายรวม โดยมาจากกลุ่มลูกค้าใหม่ กลยุทธ์การตลาด (Marketing Strategies) กลยุทธ์การตลาดจะบอกรายละเอียดว่าวัตถุประสงค์ทางการตลาดแต่ละอย่างนั้น เราจะใช้วิธีการอย่างไร เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว ในขณะที่วัตถุประสงค์ทางการตลาดที่เรากำหนดนั้นต้องมีความเฉพาะกำหนดขอบเขตต่างๆ ชัดเจน และเกี่ยวเนื่องกับพฤติกรรมการซื้อของบริโภคนั้น กลยุทธ์การตลาดกลับมีความหมายกว้างกว่าและจะเป็นตัวกำหนดทิศทางของแผนตลาด กำหนดการวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ของสินค้า (Product Positioning) กลยุทธ์การตลาดและยังจะใช้เป็นกรอบอ้างอิงในการพัฒนาโปรแกรมด้วยส่วนผสมการตลาด (Marketing Mix) อีกด้วย ธุรกิจสามารถกำหนดกลยุทธ์ต่างๆ มากกว่า 1 กลยุทธ์ โดยพิจารณาจากหัวข้อต่างๆ ดังนี้ 1. กลยุทธ์การสร้างตลาดหรือแย่งชิงส่วนตลาด (Build the market or steal market share) ในการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดในแผนการตลาดนั้น เราต้องมีการตัดสินใจอย่างชัดเจนว่า เพื่อให้บรรลุเป้าหมายยอดขายรวมนั้น เราจะใช้กลยุทธ์อย่างไร ระหว่างกลยุทธ์การสร้างตลาด (Build the market) และกลยุทธ์แย่งส่วนครองตลาด (Steal share) จากคู่แข่งขัน การสร้างตลาด (Build market) เหมาะกับสถานการณ์สำหรับประเภทสินค้าใหม่ ขณะที่งานตลาดในปัจจุบันยังมีขนาดเล็ก และศักยภาพของผู้ซื้อยังมีสูง ขณะที่คู่แข่งขันยังไม่มาก บริษัทที่ลงสู่ตลาดนี้ และใช้วิธีการสร้างตลาดขึ้นมา ส่วนใหญ่จะเป็นผู้นำตลาดนี้ ตัวอย่างเช่น มิลเลอร์ไลท์เบียร์ เป็นผู้สร้างตลาดเบียร์รสอ่อน เป็นต้น กลยุทธ์การสร้างตลาดเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลาและเงินตราและความพยายามโดยเริ่มตั้งแต่การพัฒนาความต้องการของลูกค้า และพยายามทำให้เขาซื้อสินค้าของเรา การแย่งชิงส่วนตลาด (Steal market share) เป็นการแย่งส่วนตลาดจากคู่แข่งขัน ด้วยการเสนอสินค้าหรือข้อเสนอที่ดีกว่าหรือเหนือกว่าคู่แข่งขัน นั่นหมายความว่ากลุ่มเป้าหมายของเรากับกลุ่มเป้าหมายของคู่แข่งขันนั้น มีความใกล้เคียงกัน และต้องสื่อสารให้กลุ่มเป้าหมายกลุ่มนี้ทราบถึงประโยชน์และคุณค่าต่างๆ ของสินค้าเราซึ่งเหนือกว่าคู่แข่งขัน ตัวอย่างกลยุทธ์ สร้างตลาดน้ำมันพืชที่สกัดจากข้าวโพด และเจาะกลุ่มเป้าหมายระดับสูง ซึ่งใส่ใจในสุขภาพ โดยการแย่งชิงส่วนคลาดระดับบน (premiums) ของตลาดน้ำมันพืช 2. กลยุทธ์ระดับชาติ ระดับภูมิภาค และกลยุทธ์เฉพาะท้องถิ่น (National, Regional and Local Marketing Strategies) กลยุทธ์ดังกล่าวจะช่วยให้กิจการตัดสินใจว่าจะใช้กลยุทธ์การตลาดระดับต่างๆ หรือจะใช้กลยุทธ์แบบผสมผสานระหว่างระดับชาติกับระดับท้องถิ่น ตัวอย่างกลยุทธ์ พัฒนากลยุทธ์รวมจากสำนักงานกลางให้เป็นกลยุทธ์ระดับชาติ และสนับสนุนโดยใช้โปรแกรมการตลาดในแต่ละท้องที่ โดยสำนักงานขายแต่ละเขตเป็นผู้ดำเนินงาน พัฒนาโปรแกรมการตลาดโดยใช้แคมเปญโฆษณา และการส่งเสริมการตลาดสำหรับดีลเลอร์เหมือนกันหมดทั่วประเทศ 3. กลยุทธ์ฤดูการขาย (Seasonality Strategies) กิจการต้องตัดสินใจการใช้งบประมาณการตลาดและโฆษณาให้สอดคล้องกับช่วงการขาย ซึ่งมีความแตกต่างกันในแต่ละช่วงของปีด้วย ตัวอย่างกลยุทธ์ เนื่องจากช่วงขายสินค้าเป็นช่วงสั้นมาก เราควรพัฒนากลยุทธ์การตลาดและโปรแกรมการให้ข่าวสารเพื่อให้เกิดยอดขายเร็วที่สุด ตั้งแต่ต้นฤดูการขาย และให้เกิดการซื้อซ้ำมากที่สุด 4. กลยุทธ์คู่แข่งขัน (Competitive Strategies) เมื่อเราพิจารณาแล้วเห็นว่า คู่แข่งขันโดยตรงของเรามีผลต่อขนาดส่วนครองตลาดที่ลดลง หรือคู่แข่งก้าวมารุกล้ำตำแหน่งผลิตภัณฑ์ (Unique Positioning) ของเราแล้ว เราจำต้องพัฒนากลยุทธ์การตลาดเพื่อการแข่งขันในแผนของเรา ตัวอย่างกลยุทธ์ เพื่อเป็นการสกัดกั้นมิให้คู่แข่ง X เข้ามาในตลาด เราต้องใช้กลยุทธ์ เสริมการตลาดอย่างหนักหน่วงในช่วงการเปิดตัวสินค้าของคู่แข่ง X โดยมุ่งไปยังเขตการขายที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของคู่แข่ง X 5. กลยุทธ์เพื่อตลาดเป้าหมาย (Target Market Strategies) จากการที่มีการกำหนดตลาดเป้าหมายอย่างชัดเจน เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักและกลุ่มเป้าหมายรอง เราต้องมีการพิจารณาว่าจะเข้าถึงหรือมุ่งเน้นตลาดเป้าหมายเหล่านี้ได้อย่างไร ตัวอย่างกลยุทธ์ มุ่งไปที่กลุ่มผู้ใช้หลัก (Heavy User) โดยเสนอด้วยสินค้าที่มีประสิทธิภาพ มุ่งกลุ่มเป้าหมายไปที่คุณแม่ซึ่งมาซื้อสินค้าพร้อมกับลูกๆ โดยเสนอรองเท้ากีฬาที่มีคุณค่าสำหรับเด็กๆ พร้อมๆ กับรองเท้าลำลองสำหรับคุณแม่ด้วย กลุ่มเป้าหมายหลักนั้น เราจะใช้โปรแกรมส่วนผสมการตลาดทุกส่วน ขณะเดียวกันกลุ่มเป้าหมายรองเราใช้วิธีการสร้างแรงจูงใจโดยส่งเสริมการขายผ่านร้านค้า 6. กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ (Product Strategies) การพิจารณาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นั้นจะมีการพิจารณากลยุทธ์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่ กลยุทธ์ทางการขยายสายผลิตภัณฑ์ กลยุทธ์การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ และกลยุทธ์การเลิกผลิตภัณฑ์ หรือการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ที่อ่อนแอ การใช้กลยุทธ์เพื่อฟื้นผลิตภัณฑ์ หรือยืดอายุของสายผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างกลยุทธ์ ขยายวิธีการใช้ใหม่ๆ ของผลิตภัณฑ์เรา เพื่อกลุ่มเป้าหมายใหม่ คือ กลุ่มผู้ใหญ่ที่อายุตั้งแต่ 55 ปี ขึ้นไป ละทิ้งผลิตภัณฑ์ซึ่งยังไม่สามารถทำกำไรนับตั้งแต่เมื่อนำผลิตภัณฑ์นั้นๆ สู่ตลาดแล้วเป็นเวลา 5 ปี 7. กลยุทธ์ตรายี่ห้อ (Branding Strategies) ธุรกิจจะต้องทำการตัดสินใจเกี่ยวกับชื่อยี่ห้อ ตรายี่ห้อ เอกลักษณ์หรือตัวบ่งชี้แสดงตัวสินค้า ตัวอย่างกลยุทธ์ ให้พัฒนาชื่อใหม่ของสินค้าเรา โดยชื่อดังกล่าวต้องสะท้อนถึงคุณภาพที่เหนือกว่า 8. กลยุทธ์การบรรจุภัณฑ์ (Packaging Strategies) การตัดสินใจรูปแบบบรรจุภัณฑ์และประเภทวัสดุของบรรจุภัณฑ์มักจะใช้กับสินค้าอุปโภคบริโภคที่พัฒนามาใหม่ หรือเมื่อมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสินค้าใหม่ ตัวอย่างกลยุทธ์ เปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ใหม่เพื่อให้ผู้บริโภคเห็นอย่างชัดเจน ณ จุดขาย 9. กลยุทธ์ราคา (Pricing Strategies) เราต้องกำหนดว่าจะตั้งราคาแบบใด กลยุทธ์ราคาสูง หรือราคาที่สอดคล้องกับตลาดหรือคู่แข่งขัน หรือตำแหน่งผลิตภัณฑ์ขอสินค้านั้นหรือไม่ ตัวอย่างกลยุทธ์ ตั้งราคาสูงเพื่อสอดคล้องกับตำแหน่งผลิตภัณฑ์ของสินค้าที่สูง ตั้งราคาต่ำสำหรับช่วงฤดูกาลที่ยอดขายน้อย และตั้งราคาต่ำกว่าผู้นำเล็กน้อยในช่วงฤดูกาลที่ขายดี 10. กลยุทธ์กระจายสินค้า และการครอบคลุมตลาด (Distribution of Product/ Coverage Strategies) การตัดสินใจมีความแตกต่างกัน ขึ้นกับประเภทของสินค้าว่าเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค หรือสินค้าองค์กร หรือสินค้าบริการ สินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าอุตสาหกรรม สินค้าองค์กรต้องพิจารณาว่า จะวางจำหน่ายที่จุดใดจึงจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ด้วยรูปแบบของร้านค้า หรือจุดจำหน่ายสินค้าอย่างไร ธุรกิจค้าปลีกและบริการมักจะตัดสินใจว่า วัตถุประสงค์การตลาดที่ตั้งไว้นั้นจะบรรลุโดยใช้ช่องทางการขายที่มีอยู่หรือไม่ จำเป็นต้องเพิ่มร้านค้าใหม่ๆ หรือช่องทางใหม่ๆ หรือไม่ ตัวอย่างกลยุทธ์ ไม่ขยายช่องทางใหม่ๆ อีกจนกว่าจะเจาะกลุ่มตลาดเดิมได้ครบถ้วนแล้ว ขยายการกระจายสินค้าให้มากขึ้น โดยเน้นที่เขตตะวันออกเฉียงเหนือ 11. กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด (Promotion Strategies) กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดจะต้องประสานกับแผนการตลาดโดยรวม และกำหนดแผนการส่งเสริมการตลาดที่เฉพาะเจาะจง ตัวอย่างกลยุทธ์ ใช้กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดกับคู่ค้า เพื่อให้คู่ค้าสนับสนุนตราสินค้าของเรา ใช้กลยุทธ์ส่งเสริมการตลาดให้เกิดผลสูงสุดเพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อสินค้าของ เราในช่วงระยะเวลาที่ยอดขายต่ำของปี 12. กลยุทธ์การใช้จ่ายทางการตลาด (Spending Strategies) กลยุทธ์ดังกล่าวจะบอกรายละเอียดค่าใช้จ่ายทางการตลาดนั้นว่า มีการใช้อย่างไร เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางการตลาดอะไรบ้าง ต้องการเพิ่มยอดขายของตรายี่ห้อ ยอดขายของร้านค้า หรือยอดขายในเขตการขาย หรือใช้จ่ายไปเพื่อดึงดูดลูกค้าให้ๆ ให้มาลองใช้ หรือลองซื้อสินค้าตรายี่ห้อของเรา ในการตัดสินใจเรื่องค่าใช้จ่ายนี้ เราต้องพิจารณาว่าจะใช้ในระดับใด สำหรับตรายี่ห้อตัวใด หรือตลาดใดหรือเขตการขายใด การพิจารณาค่าใช้จ่ายโดยรวม จัดว่าเป็นสิ่งจำเป็นเช่นกัน ค่าใช้จ่ายที่อยู่ในแผนนั้น สอดคล้องกับตัวเลขค่าใช้จ่ายในอดีตอย่างไร เพิ่มขึ้นหรือลดลงด้วยเหตุผลอะไร รายละเอียดของค่าใช้จ่ายและงบประมาณจะปรากฎอยู่ในส่วนงบประมาณของแผนการตลาด ตัวอย่างกลยุทธ์ เพิ่มค่าใช้จ่ายด้านโฆษณาคิดเป็นร้อยละของยอดขายที่ตั้งไว้ โดยเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายของผู้นำตลาด ใช้จ่ายงบการตลาดอย่างมาก ยังสินค้าหลัก 3 ตัวของบริษัท เพื่อสร้างศักยภาพทางการตลาดสูงสุด 13. กลยุทธ์การใช้พนักงานขายและการปฏิบัติการของพนักงานขาย (Personal Selling / Operation Strategies) เมื่อพิจารณาว่าโครงสร้างการขายและการบริหารงานขายมีความเหมาะสมมากเพียงต่อแผนการตลาด ตัวอย่างกลยุทธ์ กำหนดตัวเลขอัตราส่วนการขาย (เช่น จำนวนลูกค้าที่คาดหวัง Prospect นั้นเมื่อเทียบกับจำนวนที่กลายเป็นลูกค้าที่ซื้อสินค้า หรือจำนวนลูกค้าที่ซื้อสินค้าเมื่อเทียบกับลูกค้าที่เข้ามาในห้าง) เพื่อไว้ตรวจสอบถึงประสิทธิภาพของพนักงานขาย คิดค้นโปรแกรมการให้ผลตอบแทนการขาย (incentive program) ใหม่ๆ เพื่อเป็นรางวัลแก่พนักงานขายที่ทำยอดขายตามเป้า 14. กลยุทธ์ข่าวสารที่สื่อทางโฆษณา (Advertising Message Strategies) นักการตลาดต้องทราบถึงจุดเน้นที่จะส่งข่าวสารไปยังผู้บริโภค และจะใช้โฆษณาเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางการตลาดอย่างไร ตัวอย่างกลยุทธ์ ใช้โฆษณาเพื่อการสร้างภาพลักษณ์ (Image) ของสินค้าเพื่อหวังยอดขายระยะยาว และความจงรักภักดีต่อตรายี่ห้อสินค้า (Brand loyalty) เน้นการใช้โฆษณาเพื่อการส่งเสริมการขาย โดยหวังยอดขายช่วงสั้นๆ 15. กลยุทธ์การใช้สื่อโฆษณา การเลือกสื่อโฆษณามีความสำคัญยิ่ง เพราะจะเป็นทิศทางในการกำหนดกลยุทธ์การตลาดอื่นๆ เช่น กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ กลยุทธ์คู่แข่งขัน และกลยุทธ์การใช้จ่ายทางการตลาด ตัวอย่างกลยุทธ์ การใช้สื่อโฆษณาใหม่ๆ เพื่อสร้างความตระหนักในตรายี่ห้อ (Awareness) และสร้างให้เกิดการลองใช้สินค้า ลงทุนมากขึ้นในสื่อโฆษณานี้สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่มีศักยภาพ และ สามารถเจาะตลาดกลุ่มนี้ได้ 16. กลยุทธ์การบริหารและการจัดการสินค้า (Merchandising Strategies) กลยุทธ์นี้จะกล่าวถึงการกำหนดรูปแบบและการจัดการของสถานที่และจุดที่แสดงสินค้า, แผ่นพับโฆษณา, เอกสารการขาย, บุคลากร ณ จุดขาย การจัดงานต่างๆ เพื่อสนับสนุนการขาย ตัวอย่างกลยุทธ์ การจัดแต่งหน้าร้านอย่างน่าดึงดูดใจ เพื่อดึงลูกค้าเข้ามาในร้าน สนับสนุนเพิ่มพนักงานขาย พร้อมกับเอกสารและวัสดุอื่นๆ เพื่อให้มีการปิดการขาย 17. กลยุทธ์การให้ข่าวสาร (Publicity) เราต้องพิจารณาว่าการสื่อข่าวสารและการประชาสัมพันธ์นั้นมีความจำเป็นต่อกิจการของเราหรือไม่ ถ้าเป็นเรื่องจำเป็นควรกำหนดกลยุทธ์ดังกล่าวในแผนการตลาดด้วย ตัวอย่างกลยุทธ์ มีการร่วมมือกับสื่อบางสื่อ เพื่อจัดเทศกาลในโอกาสพิเศษ กำหนดโปรแกรมการเปิดตัวการบริการรูปแบบใหม่ของธุรกิจเรา 18. กลยุทธ์การวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ธุรกิจต่างๆ ล้วนแต่ต้องการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง พร้อมๆ กับยอดขายที่เพิ่มขึ้น การทำวิจัยและพัฒนาเป็นองค์ประกอบหนึ่งของความสำเร็จทางธุรกิจ แม้ว่าจะต้องใช้การวางแผน การทดสอบ และการดำเนินงาน ตลอดจนเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ แต่จะทำให้ธุรกิจเรายืนอยู่แถวหน้าในอุตสาหกรรมได้ และสามารถต่อสู้กับคู่แข่งขัน ถ้าเรากำหนดว่าจะการวิจัยและพัฒนา เราต้องทราบว่าจะทำการวิจัยและทดสอบอะไรบ้าง เช่น สินค้าใหม่, บรรจุภัณฑ์ใหม่, หรือประชาสัมพันธ์ใหม่ของโปรแกรมการตลาดต่างๆ ตัวอย่างกลยุทธ์ กำหนดโปรแกรมการทดสอบตลาด เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตัวอื่นๆ 19. กลยุทธ์การหาข้อมูลทางการตลาด (Marketing Research Strategies) ธุรกิจใช้วิจัยตลาดเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาที่เฉพาะทางการตลาดบางอย่าง ขณะเดียวกันมักจะช่วยเพิ่มยอดขายและบรรลุถึงวัตถุประสงค์อีกด้วย อีกทั้งใช้การวิจัยเพื่อการศึกษาและติดตามพฤติกรรมของผู้บริโภค และใช้ข้อมูลเพื่อเป็นฐานในการเปรียบเทียบการดำเนินงานของเรา เมื่อเทียบกับคู่แข่ง ตัวอย่างกลยุทธ์ จัดทำโปรแกรมการสำรวจเพื่อศึกษาและติดตามการรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้บริโภค กล่าวโดยสรุป เมื่อถึงขั้นตอนนี้เราจะต้อง ทบทวนปัญหาและโอกาสทางการตลาด ทบทวนวัตถุประสงค์ทางการตลาดที่กำหนดไว้ พัฒนากลยุทธ์ทางการตลาด ซึ่งรายละเอียดต่างๆ ของกลยุทธ์เราจะมีการพูดถึงอีกครั้งหนึ่งในช่วงที่กำหนดเครื่องมือส่วนผสมทางการตลาด (Marketing Mix Tool)

ส่วนผสมทางการตลาด 4P (MARKETING MIX) เป็น 6P

ในโลกแห่งการแข่งขันทางการตลาดที่สูงขึ้น ทำให้บริษัทต่างๆ ต้องมีการ
วางแผนการตลาดอยู่ตลอดเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้พอใจสูงสุด ซึ่งทำให้ต้องปรับปรุงส่วนผสมทางการตลาดจาก 4P เป็น 6P ดังนี้
1. Product ในอดีตเราจะผลิตสินค้า/บริการอะไรเพื่อนำไปเสนอขายให้กับผู้บริโภค อย่าเพิ่งเริ่มจากบริษัทเราผลิตอะไรได้ แต่ควรที่จะมองว่าการตลาดต้องเริ่มต้นจากผู้บริโภค/ลูกค้า หาความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภค ดังนั้นการวางแผนผลิตภัณฑ์จึงมีเป้าหมายอยู่ที่การตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ตรงใจที่สุด
- สินค้าต้องมีความแตกต่าง โดยต้องเป็นที่ชื่นชอบของลูกค้าด้วย
2. Price ในอดีตฝ่ายบัญชีเป็นผู้ตั้งราคาสินค้า โดยเอาต้นทุนเป็นเกณฑ์ ซึ่งการตั้งราคาควรเริ่มต้นจากผู้บริโภค ต้องกำหนดว่าราคาใดเป็นราคาที่ผู้บริโภคยอมรับได้ แล้วจึงคำนวณกลับมาหาต้นทุน หลายๆครั้ง การตั้งราคาต่ำกว่าต้นทุนรวม แต่สูงกว่าต้นทุนผันแปร ทำให้บริษัทมีกำไรมากกว่า การตั้งราคาสูง แต่ขายไม่ได้ ซึ่งบริษัทต้องให้มากกว่าสิ่งที่ลูกค้าคาดหวัง จึงจะเกิดการซื้อซ้ำ บอกต่อกันปากต่อปาก แล้วยังปกป้อง และรอคอยสินค้าของเราด้วย ดังนั้นการตั้งราคาของสินค้า และการเลือกกลยุทธ์ราคาในการส่งเสริมการขายต้องเหมาะสมกับลูกค้าแต่ละกลุ่ม
3. Place ในอดีต เน้นในเรื่องการหาช่องทางการขาย เพื่อต้องการให้ลูกค้าสะดวกในการหาซื้อสินค้า ทำให้จัดพนักงานขายให้กระจายครอบคลุมพื้นที่ขายให้มากที่สุด ในปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวหน้า ทำให้มีการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าผ่านทาง โทรศัพท์ โทรสาร อินเทอร์เน็ต หรือแม้แต่ให้บริการ 24 ช.ม ทำให้สามารถตอบสนองความสะดวกของลูกค้าได้4. Promotion ในอดีต พนักงานมีบทบาทมาก แต่ต่อมาการสื่อสารพัฒนาขึ้นขยายไปทุกพื้นที่ในประเทศ ทำให้หันไปใช้สื่อโฆษณา เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ที่สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ นักการตลาดจึงเริ่มพัฒนาการสื่อสารกับลูกค้า
สรุป 4P เป็นเรื่องของการจัดการ 4CProduct ผลิตสินค้ามาก็เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า (Consumer’s Need)Price จะต้องมีการกำหนดราคาที่ลูกค้ามีความพอใจหรือชื่นชอบให้คุณค่ามากกว่าที่ลูกค้าคาดหวังไว้ (Cost of Appreciation)Place ต้องสามารถหาซื้อสินค้าได้สะดวกสบาย ซึ่งรวมทั้งการซื้อ และการติดต่อกับลูกค้า (Convenience to Buy)Promotion การจัดการส่งเสริมการขายก็เพื่อให้สามารถสื่อสารกับลูกค้าได้ (Communication)People บุคคลากรทางการตลาด คนที่ทำหน้าที่ทางการตลาดนั่นเอง นักการตลาดจะต้องรู้จักเลือกใช้กลยุทธ์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์
นักการตลาดยุคใหม่ไม่ควรจะรู้เฉพาะศาสตร์ทางการตลาด แต่จะต้องรู้ศาสตร์การจัดการด้านอื่นๆด้วย ความรับผิดชอบของนักการตลาด ต้องดูยอดขายตามที่ได้พยากรณ์ไว้ จนถึงกำไรของบริษัท นักการตลาดจึงต้องเก่ง การเงิน เทคโนโลยี และการจัดการ President ประธานกรรมการ หรือผู้บริหารระดับสูง เรียกว่า CEO ควรใช้คนเก่งให้ถูกทาง ศึกษาความเป็นไปของตลาด CEO เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในบริษัทเป็นผู้กำหนดทิศทางของบริษัท ผู้อนุมัติกลยุทธ์การตลาด ผู้อนุมัติงบประมาณการตลาด ผู้เลือกผู้บริหาร และกลยุทธ์ใหม่ๆ เพื่อที่จะเป็นแม่ทัพที่แข็งแกร่งและสามารถนำพาบริษัทให้รุ่งเรืองได้ตลอดไป

หลักการวิเคราะห์ SWOT Analysis ในการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด ของแผนการตลาด

กลยุทธ์เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นสำหรับองค์กรเพราะองค์กรใช้กลยุทธ์ในการทำงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของตน โดยกลยุทธ์ของแต่ละองค์กรจะถูกกำหนดตามธรรมชาติและลักษณะขององค์กรนั้น ๆ ทั้งนี้ องค์กรจะกำหนดกลยุทธ์ได้นั้นต้องรู้สถานภาพหรือสภาวะขององค์กรของตนเสียก่อน
นอกจากนี้ยังต้องมีกระบวนการกำหนดกลยุทธ์ ที่เหมาะสมสำหรับตนเอง วิธีการและเทคนิคในการวิเคราะห์สภาวะขององค์กรและกระบวนการกำหนดกลยุทธ์มีหลายวิธีด้วยกัน หนึ่งในวิธีการเหล่านี้ คือกระบวนการวิเคราะห์ SWOT ซึ่งเป็นวิธีการที่รู้จักและใช้กันอย่างแพร่หลาย
SWOT เป็นคำย่อมาจากคำว่า Strengths, Weaknesses, Opportunities, and Threats โดย
Strengths คือ จุดแข็ง หมายถึง ความสามารถและสถานการณ์ภายในองค์กรที่เป็นบวก ซึ่งองค์กรนำมาใช้เป็นประโยชน์ในการทำงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ หรือหมายถึง การดำเนินงานภายในที่องค์กรทำได้ดี
Weaknesses คือ จุดอ่อน หมายถึง สถานการณ์ภายในองค์กรที่เป็นลบและด้อยความสามารถ ซึ่งองค์กรไม่สามารถนำมาใช้เป็นประโยชน์ในการทำงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ หรือหมายถึง การดำเนินงานภายในที่องค์กรทำได้ไม่ดี
Opportunities คือ โอกาส หมายถึง ปัจจัยและสถานการณ์ภายนอกที่เอื้ออำนวยให้การทำงานขององค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ หรือ หมายถึง สภาพแวดล้อมภายนอกที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการขององค์กร
Threats คืออุปสรรค หมายถึง ปัจจัยและสถานการณ์ภายนอกที่ขัดขวางการทำงานขององค์กรไม่ให้บรรลุวัตถุประสงค์ หรือหมายถึง สภาพแวดล้อมภายนอก ที่เป็นปัญหาต่อองค์กร
บางครั้ง การจำแนกโอกาสและอุปสรรคเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เพราะทั้งสองสิ่งนี้สามารถเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงอาจทำให้สถานการณ์ที่เคยเป็นโอกาสกลับกลายเป็นอุปสรรคได้ และในทางกลับกัน อุปสรรคอาจกลับกลายเป็นโอกาสได้เช่นกัน ด้วยเหตุนี้องค์กรมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ของตนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์แวดล้อม

ตลาด แผนการตลาด ตัวอย่างแผนการตลาด กลยุทธ์การตลาด

แผนการตลาด
แผนการตลาด (Marketing plan) เป็นเอกสารที่อธิบายถึงการวิเคราะห์ สถานการณ์ กลยุทธ์การตลาดและโปรแกรมการตลาด หรือหมายถึง เครื่องมือส่วนกลาง สำหรับอำนวยการและการประสานงาน ความพยายามทางการตลาด ส่วนประกอบของแผนการตลาดของแต่ละบริษัทอาจแตกต่างกัน แต่โดยทั่วไปแล้วจะประกอบด้วยประเด็นที่สำคัญ ดังนี้ ส่วนที่เป็นการวิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาด (Analyzing marketing situation) 1. สรุปประวัติของบริษัทและสรุปแผนการตลาดของบริษัท (Company background and executive summary) ส่วนนี้เพื่อสรุปภาพรวมของแผนการตลาดแก่ฝ่ายบริหาร 2. การวิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาดในปัจจุบัน (Current marketing situation analysis) 1. การวิเคราะห์สถานการณ์ทางด้านการตลาด ผลิตภัณฑ์ การจัดจำหน่ายและสิ่งแวด-ล้อมมหภาคที่เกี่ยวข้อง (Analyzing market, product, competition, distribution and macroenvironment) 2. การวิเคราะห์ SWOT (Strengths, weaknesses, opportunities and threats) 3. การวิจัยและการกำหนดตลาดเป้าหมาย (Researching and identifying target market) 4. การวิเคราะห์ตลาดและพฤติกรรมการซื้อ (Analyzing marketing and buying behavior) 5. การคาดคะเนงบกำไรขาดทุนและศึกษาความเป็นไปได้ทางการตลาด (Projecting profit and loss statement and marketing feasibility study) ส่วนที่เป็นการวางแผนการตลาด (Marketing planning) 1. การกำหนดวัตถุประสงค์ทางการตลาด (Marketing objectives) 2. การกำหนดกลยุทธ์และโปรแกรมการตลาด (Marketing programs and strategies) ประกอบด้วยกลยุทธ์และส่วนประสมการตลาด (Marketing mix strategies and programs) ประกอบด้วย 4 ด้านดังนี้ 1. กลยุทธ์และโปรแกรมด้านผลิตภัณฑ์ (Product programs and strategies) ประกอบด้วย (1) ความแตกต่างทางการแข่งขันของผลิตภัณฑ์ (Competitive product differentiation) (2) การกำหนดตำแหน่งตราสินค้า (Brand positioning) (3) กลยุทธ์และโปรแกรมด้านองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์ (Product components strategies and programs) 2. กลยุทธ์และโปรแกรมด้านราคา (Price programs and strategies) 3. กลยุทธ์และโปรแกรมด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (Distribution channel programs and strategies) 4. กลยุทธ์และโปรแกรมด้านการส่งเสริมการตลาด (Promotion programs and strategies) 5. กลยุทธ์และโปรแกรมด้านการโฆษณา (Advertising programs and strategies) 6. กลยุทธ์และโปรแกรมด้านการขายโดยใช้พนักงานขาย (Personal selling programs and strategies) 7. กลยุทธ์และโปรแกรมด้านการส่งเสริมการขาย (Sales promotion programs and strategies) 8. กลยุทธ์และโปรแกรมด้านการให้ข่าวและการประชาสัมพันธ์ (Publicity and public relation programs and strategies) 9. กลยุทธ์และโปรแกรมการตลาดทางตรง (Direct marketing programs and strategies) ส่วนที่เป็นการปฏิบัติและการควบคุมทางการตลาด (Marketing implementation and marketing control) 1. การจัดองค์การทางการตลาด (Marketing organization) ในส่วนนี้จะกำหนดโครงสร้างการทำงาน 2. การปฏิบัติการทางการตลาด (Marketing implementation) เป็นการปฏิบัติตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ 3. การควบคุมทางการตลาด (Marketing control) เป็นการติดตามผลการทำงานทางการ
ตลาด ตัวอย่างแผนการตลาดของบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด แสดงประวัติของบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ได้มีบริษัทตัวแทนชื่อ โตโยต้าเซลล์ มอเตอร์ จำกัด เข้ามาเปิดกิจการในประเทศ และต่อมาก็ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น บริษัทโตโยต้า ประเทศไทยจำกัด และได้ผลิตรถยนต์ที่มีคุณภาพออกสู่ตลาด มาจนถึงรถยนต์ โตโยต้า โซลูน่า ซึ่งเป็นรถยนต์นั่งที่ออกแบบมาเพื่อคนไทยโดยเฉพาะและมีราคาถูก การวิเคราะห์ SWOT (SWOT analysis) ของรถยนต์ TOYOTA SOLUNA วิเคราะห์เมื่อกลางปี 2540 เป็นการวิเคราะห์ถึงจุดแข็ง (Strengths) จุดอ่อน (Weaknesses) โอกาส (Opportunities) และอุปสรรค (Threats) โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. จุดแข็ง (Strengths) เป็นจุดเด่นของรถยนต์ TOYOTA SOLUNA ซึ่งวิเคราะห์จากสิ่งแวดล้อมภายในของบริษัท โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1.1 เป็นรถยนต์ที่มีเครื่องยนต์ขนาด 1500 cc แต่มีราคาถูกกว่ารถยนต์ที่มีขนาดเครื่องยนต์เท่ากัน 1.2 มีการสร้างความน่าเชื่อถือในคุณภาพ โดยการศึกษาอย่างละเอียดจากหุ่นจำลองยานยนต์ต้นแบบ (Clay model) โดยละเอียดเพื่อใช้ในการกำหนดวิศวกรรมโครงสร้างที่ให้ประโยชน์สูงสุดในทุกตารางนิ้ว 1.3 เป็นยี่ห้อรถยนต์ ที่มีคนรู้จักและเชื่อมั่นในคุณภาพ 1.4 เป็นรถยนต์ที่มีรูปแบบที่ทันสมัย มีการพัฒนารูปลักษณ์อยู่ตลอดเวลา 1.5 มีศูนย์บริการอยู่ครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ 1.6 วัสดุ อุปกรณ์ทุกชิ้นของ TOYOTA SOLUNA ได้ผ่านการเลือกสรรพร้อมทั้งผ่านกระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง (Hight technology) 2. จุดอ่อน (Weaknesses) เป็นจุดด้อยโดยวิเคราะห์จากสิ่งแวดล้อมภายในบริษัท ซึ่งมีดังนี้ 2.1 เป็นรถยนต์ที่ให้กำลังแรงม้าต่ำ เมื่อเทียบกับเครื่องยนต์ขนาด 1500 cc ของรถยนต์ยี่ห้ออื่น ๆ 2.2 บริษัทไม่มี STOCK ของรถยนต์ TOYOTA SOLUNA เพียงพอกับปริมาณการสั่งจองรถยนต์ 2.3 ผู้บริโภคไม่มั่นใจในคุณภาพของรถยนต์ตามที่โฆษณาว่าราคาไม่สูง แต่คุณภาพเท่าเดิม 2.4 บริษัทมีศักยภาพไม่เพียงพอในการผลิตรถยนต์เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค 3. โอกาส (Opportunities) เป็นข้อได้เปรียบโดยวิเคราะห์จากสิ่งแวดล้อม ภายนอก (ทั้งสิ่งแวดล้อมมหภาคและจุลภาค) ซึ่งมีดังนี้ 3.1 แนวโน้มที่ผู้บริโภคจะใช้รถยนต์มีสูงขึ้นในภาวะปัจจุบันที่ราคารถยนต์มีราคาถูกลง 3.2 ภาวะที่ขนส่งมวลชนล้มเหลวทำให้มีผู้สนใจที่จะมีรถยนต์ส่วนตัวมากขึ้น 3.3 แนวโน้มที่ผู้บริโภคให้ความสนใจในรถยนต์ราคาถูกสำหรับครอบครัวที่มีรายได้ไม่สูงนัก 3.4 ส่งเสริมต่อนโยบายการประหยัดของรัฐบาล โดยการเสนอรถที่มีราคา ไม่สูง แต่คุณภาพดี 4. อุปสรรค (Threats) เป็นข้อเสียเปรียบหรือข้อจำกัดโดยวิเคราะห์จาก สิ่งแวดล้อมภายนอก (ทั้งสิ่งแวดล้อมมหภาคและจุลภาค) ซึ่งมีดังนี้ 4.1 มีคู่แข่งขันสูงในรถยนต์ระดับมาตรฐานที่ใกล้เคียงกัน 4.2 การนำเข้ารถยนต์จากประเทศเกาหลีที่มีราคาถูกกว่าเข้ามาสู่ตลาดหลายตรายี่ห้อ หลายแบบ หลายชนิด 4.3 การนำรถยนต์ TOYOTA ไปทำเป็นรถแท็กซี่ ทำให้ชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของ TOYOTA ลดลงซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อ SOLUNA 4.4 มีรถยุโรปที่มีมาตรฐานสูงอยู่มาก การกำหนดตลาดเป้าหมายของรถ TOYOTA SOLUNA 1. ด้านประชากรศาสตร์ (Demographic) กลุ่มเป้าหมายของรถโตโยต้าส่วนใหญ่ประกอบด้วย ผู้ที่มีรายได้ปานกลาง ส่วนหนึ่งมีอาชีพรับราชการ 2. ด้านภูมิศาสตร์ (Geographic) ลูกค้าส่วนใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด 3. จิตวิทยา (Psychographic) โครงสร้างทางด้านจิตวิทยา ของกลุ่มเป้าหมายของรถ โตโยต้า ส่วนใหญ่มีลักษณะดังนี้ (1) คำนึงถึงความคุ้มค่าจากการซื้อรถเพราะราคาถูก (2) ผู้ที่ต้องการรถยนต์ที่มีสมรรถนะและออกแบบที่ทันสมัย (3) ก่อให้เกิดภาพพจน์ว่าเป็นผู้ที่รักการเดินทาง (4) ผู้ที่มีฐานะทางสังคมระดับกลาง 4. ด้านพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral) กลุ่มเป้าหมายของรถโตโยต้าทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ประกอบด้วย (1) กลุ่มที่มีความอ่อนไหวต่อราคาของรถยนต์ (2) กลุ่มที่นิยมใช้รถญี่ปุ่น (3) กลุ่มที่นิยมรถยนต์ขนาดเล็กที่มีความคล่องตัวสูง (4) กลุ่มที่ต้องการ รถยนต์สำหรับครอบครัวที่มีราคาไม่สูงแต่คุณภาพดี การกำหนดพฤติกรรมผู้บริโภคของผู้ใช้รถ TOYOTA SOLUNA 1. ลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย (Occupants) ประกอบด้วยกลุ่มบุคคลที่มีฐานะและรายได้ปานกลาง จากลักษณะของกลุ่มเป้าหมายจะนำไปกำหนดกลยุทธ์การตลาด (Marketing strategies) 2. สิ่งที่ผู้บริโภคต้องการ (Objects) สิ่งที่ผู้บริโภคต้องการจากการซื้อรถ TOYOTA SOLUNA คือเป็นรถที่มีความทันสมัยและมีความคล่องตัวในการใช้ ข้อมูลใน ข้อนี้จะนำไปกำหนดกลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ (Product strategies) 3. วัตถุประสงค์ในการซื้อ (Objectives) ซึ่งเป็นเหตุจูงใจในการซื้อรถ TOYOTA SOLUNA คือราคาถูกแต่คุณภาพดี ข้อมูลในข้อนี้จะนำไปกำหนดกลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด (Promotion strategies) 4. บทบาทของกลุ่มต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลหรือมีส่วนร่วมในการตัดสินใจซื้อ ได้แก่ กลุ่มที่มีฐานะและรายได้ระดับปานกลาง ข้อมูลข้อนี้จะนำไปกำหนดกลยุทธ์ช่องทางการจัดจำหน่าย (Distribution channel strategies) 5. สถานที่ที่ผู้บริโภคจะไปซื้อ (Outlets) ผู้บริโภคจะซื้อรถ TOYOTA SOLUNA ที่ตัวแทนจำหน่ายและที่โชว์รูมของรถ TOYOTA ข้อมูลในข้อนี้จะนำไปกำหนดกลยุทธ์ ช่องทางการจัดจำหน่าย (Distribution channel strategies) 6. โอกาสในการซื้อ (Occasions) ผู้บริโภคจะซื้อรถ TOYOTA SOLUNA ก็ต่อเมื่อ (1) เมื่อรถยนต์รุ่นเก่ามีอายุการใช้งานนานแล้วหรือมีปัญหาในการใช้งานเป็นประจำ (2) ต้องการซื้อรถยนต์ไว้ใช้เพื่อความสะดวกในการเดินทางข้อมูลในข้อนี้จะนำไปสู่การพัฒนารถ TOYOTA SOLUNA รวมทั้งนำไปกำหนดกลยุทธ์การส่งเสริมด้านการตลาด (Promotion strategies) เช่น ส่งจดหมายพร้อมแคตตาล็อคสินค้าของรถ TOYOTA SOLUNA ไปยังกลุ่มเป้าหมายโดยตรง 7. ขั้นตอนในการตัดสินใจซื้อ (Operations) ผู้บริโภคที่เริ่มต้นจากการรับรู้ถึงประโยชน์ของการใช้รถ TOYOTA SOLUNA เพื่อความคล่องตัวและสะดวกในการเดินทางและยังมีราคาถูกแต่คุณภาพดี เกิดความต้องการและเกิดการตัดสินใจซื้อรถ TOYOTA SOLUNA ในที่สุดข้อมูลในข้อนี้จะนำไปกำหนดกลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด (Promotion strategies) เช่น การขายโดยใช้พนักงานขาย ซึ่งจะกระตุ้นให้ลูกค้าเกิดความต้องการและ ตัดสินใจซื้อ ตัวอย่าง งบกำไรขาดทุนอย่างง่าย หน่วย : บาท รายได้จากการขาย (TR) 6,000,000 ต้นทุนขาย 3,900,000 กำไรขั้นต้น 2,100,000 ค่าใช้จ่าย ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน 930,000 ค่าใช้จ่ายทางการตลาด 850,000 1,780,000 กำไรสุทธิ 320,000 การคาดคะเนเงินสดรับและเงินสดจ่าย ครั้งแรก ปีที่1 ปีที่2 ปีที่3 ปีที่4 เงินสดรับ -0- 60,000 120,000 160,000 180,000 เงินสดจ่าย 150,000 40,000 70,000 100,000 100,000 เงินสดรับ (จ่าย) สุทธิ (150,000) 20,000 50,000 60,000 80,000 ตัวอย่างกลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ของรถ TOYOTA SOLUNA 1. การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ (Product positioning) มีความทนทาน (คุณภาพดี) และราคาประหยัด (ราคาต่ำ) TOYOTA SOLUNA มาจากสโลแกนที่บอกว่าการเดินทางที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งสื่อให้ผู้บริโภคได้รับรู้ว่าเป็นรถที่สามารถใช้สำหรับการเดินทางท่องเที่ยวได้ทุกสภาวะท้องที่ มีความทนทาน และเหมาะสมสำหรับผู้รักการเดินทางท่องเที่ยวและราคาต่ำ 2. ความแตกต่างด้านผลิตภัณฑ์ (Product differentiation) และความแตกต่างด้านราคา (Price differentiation) มีดังนี้ (1) เป็นรถยนต์ที่ออกแบบตามหลักสรีระสัมพันธ์ สวิตช์ควบคุมต่าง ๆ จัดวางให้อยู่ในตำแหน่งที่ใช้ง่ายใกล้มือ (2) เสริมด้วยวัสดุขจัดเสียง รบกวนจากภายนอกรอบคัน (3) เครื่องยนต์ใหม่ 1500 cc ทวินแคม 16 วาล์ว ให้อัตรา เร่งตอบสนองทันใจ (4) ผสานระบบช่วงล่างแม็คฟอร์สันสตริทและทอร์ชั่นขึม ให้การขับขี่นุ่มนวลและควบคุมได้ทุกสภาพการณ์ (5) มีรุ่นให้ผู้บริโภคเลือก 4 รุ่น เพื่อความเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและความชอบด้วยรถรุ่น GLI AUTO, GLI, AUTO และ XLI (6) SULUNA เป็นรถที่มีราคาต่ำ 3. ความแตกต่างด้านภาพลักษณ์ (Image differentiation) มีดังนี้ คือ เน้นความทันสมัย ปราดเปรียว และให้ความแข็งแกร่งทนทานอย่างสมบูรณ์ เน้นภาพลักษณ์ว่ารถ TOYOTA SOLUNA เป็นยนตรกรรมที่มีคุณค่าประทับใจ ตัวอย่างกลยุทธ์และโปรแกรมด้านราคาของรถ TOYOTA SOLUNA 1. รถยนต์ TOYOTA SOLUNA มีการตั้งราคา 334,000 บาท ซึ่งสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายที่มีอำนาจซื้อและมีรายได้ระดับปานกลางขึ้นไป 2. ธุรกิจใช้การตั้งราคาให้ต่ำ เพื่อเพิ่มประโยชน์ด้านการส่งเสริมการจำหน่าย 3. กลุ่มลูกค้าของธุรกิจเป็นกลุ่มเป้าหมายระดับล่าง ซึ่งมีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงราคาสูง จึงเป็นกลยุทธ์ในการตั้งราคาให้ตรงกับพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย 4. การตั้งราคาสินค้าที่เลือกซื้อประกอบหรือไม่ซื้อก็ได้ (Optional feature pricing) โดยมีการกำหนดรถเป็นรุ่น 4 รุ่น ซึ่งมีส่วนประกอบแตกต่างกัน ให้ผู้บริโภคเลือกที่จะซื้อ คือแต่ละรุ่นจะมีอุปกรณ์ประกอบภายในไม่เหมือนกัน ซึ่งถ้ารุ่นไหนมีส่วนประกอบภายในมาก จะมีการตั้งราคาสูงและลดหลั่นกันลงมา ทั้ง 4รุ่น ตัวอย่างกลยุทธ์และโปรแกรมด้านการโฆษณาของรถ TOYOTA SOLUNA 1. การติดต่อสื่อสาร จุดประสงค์คือ ให้ผู้รับข่าวสารเกิดความพร้อมของอารมณ์ (Mood) โดยการโฆษณาเน้นการเดินทางท่องเที่ยวในเมืองต่าง ๆ ในทวีปยุโรป (Playing mood) โดยใช้ภาพมิตรภาพของบุคคลในเมืองต่าง ๆ และใช้เสียงเพลงประกอบ 2. เน้นค่านิยมและรูปแบบการดำรงชีวิต (Value and lifestyle) โดยใช้สโลแกนว่า “การเดินทางที่ยิ่งใหญ่” เพื่อกระตุ้นกลุ่มเป้าหมายที่ชอบการเดินทางท่องเที่ยว และกลุ่มผู้เริ่มทำงานโดยเสนอราคาระดับต่ำ 3. จุดขายคือ เป็นรถยนต์สำหรับครอบครัว โดยการสนับสนุนจุดขายด้วยวิธีดังนี้ (1) การสนับสนุนด้วยข้อเท็จจริง คือชี้ให้เห็นถึงความสะดวกในการเดินทางเพราะรถยนต์มีขนาดเล็ก แต่มีประสิทธิภาพและเครื่องยนต์สูงกว่าคู่แข่งขันตลอดจนราคาต่ำ 334,000 บาท (2) สนับสนุนด้วยชื่อเสียงของบริษัท บริษัทโตโยต้า เป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงมีความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการแจกทุนการศึกษาแก่นักศึกษาในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น นอกจากนี้ได้ทำกิจกรรมเพื่อสังคมอีกหลายอย่าง เช่น การเลี้ยงอาหารเด็กกำพร้า และเด็กพิการ 4. กำหนดบุคลิกภาพของสินค้าไว้อย่างชัดเจน คือรถยนต์ขนาดเล็กแต่สามารถเดินทางในระยะไกล ๆ ได้โดยไม่ก่อให้เกิดปัญหา 5. การเสนอโฆษณาออกเป็นชุด โดยการออกแบบโฆษณาออกเป็นชุด ๆ ชุดที่ 1 เป็นการเริ่มต้นเดินทางจากประเทศฝรั่งเศส ชุดที่ 2 การเดินทางมาถึงประเทศมอนาโค และแสดงให้เห็นถึงความเป็นมิตรจากคนในเมือง 6. การโฆษณาผ่านหนังสือพิมพ์ การโฆษณาทางหนังสือพิมพ์มุ่งเน้นถึงคุณสมบัติและประสิทธิภาพในการขับเคลื่อน ตัวอย่างกลยุทธ์และโปรแกรมการให้ข่าวและการประชาสัมพันธ์ของรถ TOYOTA SOLUNA 1. วันที่ 31 ธันวาคม 2539 ได้มีการแถลงข่าวเกี่ยวกับรถยนต์ ที่โรงแรมแกรนด์ ไฮแอทเอราวัณ และวันที่ 31 มกราคม - 2 กุมภาพันธ์ 2540 ได้มีการจัดงานแนะนำ รถยนต์ TOYOTA SOLUNA ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และโชว์รูมโตโยต้าทั่วประเทศ 2. การจัดงานแสดงสินค้าตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำของประเทศไทย ได้แก่ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ซีคอนสแควร์ เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ฯลฯ 3. เอกสารแผ่นพับต่าง ๆ ที่แจกให้แก่ผู้เข้าชม TOYOTA SOLUNA ที่โชว์รูมหรือห้างสรรพสินค้า